การวิเคราะห์เขม่าลูกกระสุนปืนด้วยเทคนิค PIXE

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กุลนารี วงค์ราช

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กุลนารี วงค์ราช

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ไม่มี

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ฝุ่นควันที่ฟุ้งกระจายออกมาภายหลังการยิงปืน หรือที่เรียกว่า เขม่าลูกกระสุนปืน (gunshot residue : GSR) ถือเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการพิสูจน์ทราบทางนิติวิทยาศาสตร์ ทั้งการยืนยันตัวผู้ยิง และการคำนวณหาระยะจากผู้ยิงถึงเป้า ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเทคนิคหลายชนิดมาใช้ในการวิเคราะห์เขม่าลูกกระสุนปืน เช่น เทคนิค Flameless Atomic Absorption spectrophotometry (FAAS) และ เทคนิค Scanning Electron Microscope / Energy Dispersive X ray Spectroscopy (SEM/EDX) โดยการตรวจวิเคราะห์จะทำการตรวจหาธาตุองค์ประกอบหลักของแก๊ปปืน อันได้แก่ ตะกั่ว (Pb), แบเรียม (Ba) และพลวง (Sb) ซึ่งถือกันว่าเป็นธาตุที่แสดงลักษณะเฉพาะของเขม่า ลูกกระสุนปืน ในการศึกษาครั้งนี้จะได้เลือกใช้เทคนิค Particle Induced X ray Emission (PIXE) ซึ่งเป็นเทคนิคในการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบในวัสดุต่างๆ แบบไม่ทำลาย มีประสิทธิภาพสูง สามารถวิเคราะห์ธาตุที่มีปริมาณน้อยๆ ในระดับ parts per million (ppm) ได้ การวิเคราะห์เขม่าลูกกระสุนปืนโดยใช้เทคนิค PIXE ในการศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทำการทดลองในประเทศไทยทั้งหมด โดยอาศัยเครื่องเร่งอนุภาค Tandetron ซึ่งติดตั้งอยู่ที่อาคารไอออนบีมเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อนุภาคโปรตอนที่ใช้ในการวิเคราะห์มีพลังงาน 2 MeV ทำการเก็บตัวอย่างเขม่าลูกกระสุนปืนบนมือของผู้ยิงโดยใช้เทปกาวสองหน้าแบบบาง จากผลการวิเคราะห์ได้พบธาตุทั้งสามจริงและยังได้ทราบข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ชนิดธาตุองค์ประกอบของดืนปืน และความไวของเทคนิค PIXE ในเรื่องนี้ When a firearm is discharged, vaporous and particulate materials called gunshot residue (GSR) are expelled. It is one of the most important evidences to clarify questions in forensic science such as shooting distance and who is the gunman. At present, there are several techniques that are using to analyze GSR such as Flameless Atomic Absorption spectrophotometry (FAAS) and Scanning Electron Microscope/Energy Dispersive X ray Spectroscopy (SEM/EDX). These techniques are used to find lead (Pb), barium (Ba) and antimony (Sb) emitted from primer which are unique GSR particles. Particle Induced X ray Emission (PIXE) technique which is a non destructive, high sensitivity and multi elemental analysis technique was used in this study. PIXE technique is able to analyze quantitatively in parts per million (ppm). It is the first time in Thailand that the GSR is analyzed by this PIXE technique. 2 MeV proton beam was produced by a 1.7 MeV tandem “Tandetron” accelerator at Chiang Mai University. GSR on hand was collected by using double sided adhesive tape. The analytical results show that all of unique GSR particles were present. Other useful information such as composition of gun powder and sensitivity of PIXE for GSR have also been achieved. However, a suitable and effective technique for collection GSR on hand has to be devised.