การจำแนกยีนที่มีการแสดงออกแตกต่างกันในใบของกล้ายางพาราสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและต่ำ โดยเทคนิค cDNA Amplified Fragment Length Polymorphism

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กตัญญุฑิตา ดำช่วย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • เปลื้อง สุวรรณมณี

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาชีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กระบวนการสังเคราะห์โมเลกุลยางต้องใช้น้ำตาลซูโครสจากการสังเคราะห์แสงเป็นจำนวนมากดังนั้นการแสดงออกของยีนที่มีบทบาทเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของยางสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและต่ำน่าจะแตกต่างกัน จึงเตรียมอาร์เอ็นเอจากใบกล้ายางพาราสายพันธุ์ RRIT251, RRIM600 (ผลผลิตสูง)และ KRS138, BPM3 (ผลผลิตต่ำ) ไปจำแนกการแสดงออกของยีนโดยเทคนิค cDNA Amplified Fragment Length Polymorphism (cDNA AFLP) ใช้ไพรเมอร์คัดเลือก 14 คู่ พบว่ามีแถบของ Transcript derivedfragments (TDFs) ทั้งหมดเท่ากับ 1,364 แถบ มีแถบของ TDFs ที่มีความเข้มสูงในสายพันธุ์ให้ผลผลิตสูง 2 แถบ มีความเข้มต่ำ 1 แถบ มีแถบ TDFs ที่ปรากฏเฉพาะในสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง 15 แถบ และไม่ปรากฏ 4 แถบ ซึ่งยีนเหล่านี้น่าจะมีบทบาทสำคัญต่อผลผลิตของยางพารา และจะได้นำไปวิเคราะห์ลำดับเบสต่อไป

The Synthesis of latex molecules uses a lot of sucrose from photosynthesis. So, high and low yielding hevea clones may have a differentially of gene expression that involved photosynthesis. The cDNA Amplified Fragment Length Polymorphism Technique (cDNA AFLP) was used to identify differentially expressed transcripts in leaves from RRIT251, RRIM600 clones (high yielding) and KRS138, BPM3 clones (low yielding). From an amount of 14 primer combinations used, we found 1,364 transcript derived fragments (TDFs). Two of them were up regulated, only one was down regulated, fifteen were presented and four were absented. An amount of genes were presented may involve in the rubber yielding and will be sequenced.