การศึกษาและสำรวจแมงมุมในถิ่นอาศัยย่อยต่างๆในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธีระศักดิ์ แซ่โก้

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จริยา เล็กประยูร

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

แมงมุมเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายสูง สามารถสร้างเส้นใยที่มีคุณสมบัติเหนียวแน่นและทนทานต่อความร้อนสูง ในต่างประเทศมีการศึกษาและจัดจำแนกแมงมุม แต่ในประเทศไทยมีผู้สนใจและทำการศึกษาแมงมุมน้อยมากจึงจำเป็นต้องเริ่มศึกษาและทำความรู้จักเบื้องต้นทางด้านลักษณะรูปร่างภายนอกและจัดจำแนกแมงมุม ในเขตมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เป็นพื้นที่กว้างมีความแตกต่างของพื้นที่แต่ละบริเวณชัดเจน เหมาแก่การสำรวจและเก็บตัวอย่างโดยทำการสำรวจระหว่างเดือนกรกฎาคม เดือนพฤศจิกายน 2545 การศึกษาทำได้โดยแบ่งเขตสำรวจออกเป็น 4 จุดใหญ่ๆ คือ บริเวณโรงเรียนมหิดลวิทยา นุสรณ์, บริเวณสวนสมุนไพร, บริเวณตึกอธิการบดี และสนามกีฬา(เทนนิสและสนามเปตอง) ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จากนั้นลงสำรวจและเก็บตัวอย่างของแมงมุมโดยการจับตรงใส่ขวดแก้วแล้วเก็บรักษาตัวอย่างในแอลกอฮอล์ 70% เพื่อให้ตัวอย่างคงสภาพ จากนั้นนำตัวอย่างมาศึกษาภายใต้กล้อง stereo แล้วจัดจำแนกโดยใช้คู่มือจดบันทึกและทำประวัติแมงมุม ผลการศึกษาพบว่า แมงมุมเป็นสัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ร่างกายแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกประกอบด้วยส่วนหัวและอกที่รวมกันเป็นส่วนเดียว มีเปลือกแข็งหุ้มทั้งด้านบนและล่าง เป็นที่ตั้งของตา (มี 3 4 คู่) เขี้ยว (Fang) ปากและขา 8 ขา แต่ละขาเป็นข้อต่อกัน ส่วนที่สองคือท้อง ไมแบ่งเป็นปล้อง มีลักษณะเป็นถุงนิ่ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม ส่วนท้อง (Spinnerates) ส่วนหัว อกต่อด้วยท่อแคบๆกับส่วนท้อง (Pedicel) แมงมุมแต่ละชนิดมีถิ่นอาศัยย่อย แตกต่างกันไปบาง family พบได้หลายถิ่นที่อยู่ บาง family พบเพียงแหล่งที่อยู่เดียว จากการเก็บตัวอย่างแมงมุมทั้งหมด 25 ตัวอย่าง เมื่อจัดจำแนกแล้วได้แมงมุม 12 families ดังนี้คือ Family Pholcidae (Genus Pholeus, Genus Psilochorus) ซึ่งพบมากที่สุด, Family Prodidomiidae, Family Solicidae (Genus Habronuttus, Genus Sarinda, Genus Metacybra), Family Araneidae (Genus Neosconella, Genus Nuctenea), Family Sparassidae (Genus Heteropoda), Family Theridiidae (Genus Achaearanea), Family Anyphaenidae, Family Lycocidae, Family Mimetidae (Genus Mimetus), Family Oxiopidae (Genus Oxyopes), Family Caponiidae