ถุงเพาะเมล็ดปลอดมลภาวะ
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปวิตรา โสภาพล
วารุณี ชินหงส์
อมรรัตน์ ใจศิริ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุณีพิมพะนิตย์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
ไม่มี
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การนำเอาพลาสติกมาเป็นถุงเพาะต้นกล้าหรือถุงเพาะชำนั้น เมื่อนำต้นกล้าไปปลูกลงดินถุงเพาะต้นกล้าที่ทำจากพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายในดินได้ จึงจำเป็นต้องฉีกถุงเพาะต้นกล้าออกก่อนนำต้นกล้าลงดิน ซึ่งเป็นผลทำให้รากของต้นกล้าเกิดการฉีกขาด ต้นกล้าอาจมีการเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเศษถุงเพาะต้นกล้าพลาสติกยังเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม พลาสติกที่เหลือจะเป็นขยะที่กำจัดยากและจะเกิดเป็นมลภาวะทางอากาศได้หากเรานำไปกำจัดโดยการเผา ผู้ศึกษาจึงเกิดความสนใจที่จะทดลองหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้เป็นวัสดุทำถุงเพาะต้นกล้าแทนพลาสติก โดยนำภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการนำเอาน้ำจากผลตะโกดิบมาแช่แหเพื่อใช้เชือกแกมีความเหนียวไม่เปื่อยยุ่ยง่าย มาชุบกระดาษเพื่อให้กระดาษมีความเหนียว ไม่เปื่อยยุ่ยง่ายเมื่อโดนน้ำ แล้วนำกระดาษที่ได้จากการชุบมาทำเป็นถุงเพาะต้นกล้าแทนพลาสติก ผลจากการศึกษาทดลองพบว่า 1. กระดาษที่แช่น้ำผลตะโกดิบ มีความทนทานต่อการเปื่อยยุ่ยได้ดี 2. ความเข้มข้นของน้ำจากผลตะโกดิบที่ทำให้กระดาษมีความทนทานต่อการเปื่อยยุ่ยได้ดีที่สุดได้มาจากการปั่นผลตะโกดิบ หั่นละเอียด 400 กรัม ต่อน้ำ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร 3. วิธีทำให้กระดาษมีความทนทานต่อการเปื่อยยุ่ย ได้ดีที่สุดคือ การแช่กระดาษในน้ำจากผลตะโกดิบเป็นเวลา 10 วินาทีขึ้นไป 4. เมื่อนำกระดาษที่แช่ด้วยน้ำจากผลตะโกเป็นเวลา 10 วินาที ไปทำเป็นถุงเพาะต้นกล้าแล้วเปรียบเทียบกับถุงเพาะต้นกล้า พลาสติก พบว่าถุงเพาะต้นกล้าที่ทำจากกระดาษแช่น้ำผลตะโก สามารถใช้แทนถุงเพาะต้นกล้าพลาสติกได้ ถุงเพาะต้นกล้าที่ทำจากกระดาษที่แช่น้ำจากผลตะโกดิบ เมื่อนำต้นกล้าไปปลูกลงดิน จะไม่ทำให้รากของต้นกล้าได้รับการกระทบกระเทือนหรือเกิดการฉีกขาด และสามารถย่อยสลายได้ในดินทุกชนิด