ผลยับยั้งของสารพิษไมโครซิสตินจากสาหร่าย Microcystis aeruginosa Kuzt ต่อแบบทีเรียก่อโรคและยีสต์บางชนิด
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ญาณวรรณ วงศ์ไชย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุวดี พีรพรพิศาล
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ผู้จัดทำมีแนวคิดที่จะนำสารพิษไมโครซิสตินซึ่งผลิตสาหร่าย Microcystis aeruginosa ซึ่งในจัดหวัดเชียงใหม่นั้นพบมากที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มาทำประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากว่าสารพิษไมโครซิสตินนั้นเมื่อถูกสาหร่าย M. aeruginosa ปลดปล่อยออกสู่แหล่งน้ำก็จะกระจัดกระจายอยู่ในแหล่งน้ำและมีความคงตัว การทำลายไมโครซิสตินในแหล่งน้ำนั้นเป็นไปได้ยากและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้ทำการศึกษาผลของสารพิษชนิดนี้ต่อการเจริญของเชื้อทดสอบ โดยได้ศึกษาตามแนวทางต่อไปนี้คือ เก็บมวลสาหร่าย M. aeruginosa มาจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา แล้วนำสาหร่ายมาทำแห้งและแข็ง (freeze drying) แล้วแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจำนวน 10 กรัมน้ำหนักแห้ง นำไปสกัดแล้ววิเคราะห์ปริมาณสารพิษด้วยเครื่อง HPLC อีกส่วนหนึ่งนำมาสกัดด้วยวิธี freeze thaw แล้วทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบ (test organisms) ใช้วิธีทดสอบ 2 วิธี คือ paper disc methodd และวิธี drop plate ความเข้มข้นของสารพิษไมโครซิสตินที่ใช้ 20%, 40%, 60%, 80% และ 100% โดยใช้เชื้อทดสอบ 6 สปีชีส์ เป็นแบคทีเรีย 5 สปีชีส์ได้แก่ Bacillus subtilis, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Micrococcus luteus และยีสต์ 1 สปีชีส์ได้แก่ Saccharomycate cerevisiae ผลปรากฏว่าจากการทดสอบด้วยวิธี paper disc method สารพิษไมโครซิสตินสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ M. luteus ได้ โดยไมโครซิสตินความเข้มข้น 100% สามารถยับยั้งเชื้อได้ดีที่สุด โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (clear zone) เท่ากับ 2.6 เซนติเมตร สำหรับเชื้อ B.subtilis และ S.aureus นั้นขนาดวงใสยังไม่ชัดเจนไม่สามารถวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้จึงต้องทดสอบด้วยวิธี drop plate เพื่อยืนยันผลการทดลอง ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้