ผลของสารสกัดยูคาลิปตัส ( Eucalyptus Camaldulensis Dehnh. )ต่อการติดสีของผ้าฝ้าย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • แสงเทียน แสงขาว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วรรณา ปักษีเลิศ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ไม่มี

ระดับการศึกษา

ไม่มี

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเคมี

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากผ้าฝ้าย (cotton) เป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย คุณภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งปัญหาที่พบอยู่บ่อยๆ คือ การตกสีของผ้าฝ้าย ผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาภูมิปัญญาของชาวบ้านพระบุ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้นำส่วนประกอบต่างๆของต้นยูคาลิปตัส ไม่ว่าจะเป็นกิ่ง ใบ และเปลือก มาใช้ในการช่วยให้ผ้าติดสีมากขึ้น ผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิธีการย้อมและปริมาณสารสกัดยูคาลิปตัส ( Eucalyptus Camaldulensis Dehnh. )ที่ใช้ในการย้อมผ้าฝ้าย เพื่อให้ได้ผ้าฝ้ายที่มีการติดสีดีที่สุด โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาวิธีการย้อมที่เหมาะสมต่อการติดสีของผ้าฝ้ายมากที่สุด โดยเปรียบเทียบวิธีการย้อม 3 วิธี คือ 1. นำผ้าฝ้ายมาย้อมสีก่อน แล้วจึงนำไปต้มกับสารสกัด ยูคาลิปตัส 2. นำผ้าฝ้ายไปต้มกับสารสกัดยูคาลิปตัสก่อน แล้วจึงนำมาย้อมสี 3. นำผ้าฝ้ายไปต้มกับสารสกัดยูคาลิปตัสที่ผสมกับสีย้อมผ้า ตอนที่ 2 ศึกษาปริมาณของสารสกัดยูคาลิปตัสที่เหมาะสม ต่อการติดสีของผ้าฝ้ายมากที่สุด โดยการใช้สารสกัดยูคาลิปตัสความเข้มข้นเท่าเดิมแต่ปริมาตร ต่างกัน คือ 70 , 80 , 90 , 110 , 120 , 130 , 140 ,150 , 160 และ 170 cm3 ในการย้อมผ้าฝ้ายด้วยวิธีที่ 3 เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดและปริมาตรของสารสกัดยูคาลิปตัสที่เหมาะสมที่สุด คือ 110 cm3