หมึกจากสนิม

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุดาพร สุมา

  • อัจฉรา จอมสง่าวงศ์

  • วิรวดี ปัญโญยิ่ง

  • รุจิภา บุญเสริม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วุฒิคุณ กรรำ

  • ถวัลย์ ตันธีระพงศ์

  • ภาณุวัฒน์ ตันติเสรีรัตน์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ปากกา การใช้ปากกาหมึกซึมจะช่วยให้เป็นคนมีระเบียบในการเขียนอักษร ประหยัด น้ำหมึกที่มีขายในท้องตลาดมีราคาค่อยข้างแพง เราสามารถผลิตน้ำหมึกที่ใช้กับปากการหมึกซึม ปากกาสปีดบอนด์ หรือพู่กันขึ้นใช้เองได้ โดยใช้ผงตะไบเหล็ก 50 กรัมใบชา 20 กรัม แช่ในน้ำร้อน 200 cc. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วนำมาระเหยน้ำออกจนเหลือสารละลาย 30 cc. จะได้สารละลายน้ำหมึกที่ใช้ทดแทนหมึกในท้องตลาดได้ นอกจากใบชาแล้วยังสามารถใช้พืชชนิดอื่นแทนได้อีกเช่น เปลือกสีเสียด สีเสียดผง เปลือกผลทับทิม หมากแห้ง เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนให้สาร Tannin ซึ่งทำปฏิกิริยากับสนิมเหล็กแล้วเกิดสารละลายสีดำใช้เป็นน้ำหมึกได้