โครงงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมประยุกต์ธนาคารความดี

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • บุษบา วงศ์กาฬสินธุ์

  • ฉัตรธิดา จิตโสภาพันธุ์

  • อัมพิกา ชนะดิษฐ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สมมาตร์ ก้อนกั้น

  • สมพงษ์ อุมะวรรณ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียน อุเทนพัฒนา

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานโปรแกรมธนาคารความดีนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลนักเรียน เพิ่มคะแนนความดี หักคะแนนความประพฤติของนักเรียน และผลของการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลนี้กับธนาคารความดี ก็เป็นที่น่าพอใจมากกว่าการบันทึกความดีที่เป็นสมุดรูปเล่ม ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต้องใช้กระดาษเป็นจำนวนมากในการทำเป็นสมุดบันทึกคะแนนความดีให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนซึ่งมีจำนวน 1431 คน อีกทั้งการพกพาสมุดนั้นทำให้เกิดการสูญหายได้ และเกิดการชำรุดได้ง่าย การหาวิธีที่จะใช้กระดาษให้น้อยลงจึงเป็นทางเลือกที่ดี ดังนั้นโปรแกรมธนาคารความดีนี้จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่ารูปเล่มบันทึกแบบเดิม ความคิดในการพัฒนาโปรแกรมธนาคารความดีนี้ได้ถูกคิดต่อยอดจากโปรแกรมเดิมที่มีคุณสมบัติไม่ดีเท่าโปรแกรมตัวใหม่ ทางคณะผู้จัดทำได้นำโปรแกรมมาศึกษาและดัดแปลง ปรับปรุง เพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนกลุ่มก่อนได้ทำไว้แต่ยังไม่ดีนัก โดยเริ่มจากการวางแผนเค้าโครงโปรแกรม คิดหาสูตรที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมธนาคารความดี ออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access 2003 ออกแบบเมนูหลักต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น รายการเพิ่มคะแนนความดี รายการหักคะแนนความประพฤติ รายงานคะแนนแบบห้อง หรือแม้แต่ระดับบุคคล และยังสามารถมีประโยชน์ในการใช้งานจริง แล้วจึงมาสร้างในโปรแกรม Microsoft Visual Basic 6.0 โดยเริ่มจากการสร้างเมนูหลัก เพิ่มเมนูย่อยอีกหลายรายการเพื่อสะดวกแก่การเก็บหลักฐานพฤติกรรมของนักเรียนที่เป็นสมาชิกภายในโรงเรียน ข้อมูลภายในโปรแกรมธนาคารความดียังสามารถ เพิ่ม ลบ หรือแก้ไข ข้อมูลสมาชิกหรือข้อมูลต่างๆภายในโปรแกรมได้ ข้อมูลและหลักฐานต่างๆที่ถูกบันทึกในโปรแกรมยังสามารถเก็บเป็นหลักฐาน และรายงานเพื่อส่งต่อให้ฝ่ายปกครองพิจารณาต่อไปได้อีกด้วย โปรแกรมธนาคารความดีนี้จึงเป็นโปรแกรมที่สามารถลดภาระของครูผู้บริหารเกี่ยวกับการควบคุม ดูแลความประพฤติของนักเรียนได้โดยไม่ต้องเพิ่งการตรวจสอบที่ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อน ลดขั้นตอนการดูแลได้ในโปรแกรมเดียว และยังสามารถประยุกต์พัฒนาโปรแกรมนี้เพื่อประโยชน์แก่กิจกรรมทางการเรียนของนักเรียนได้อีกด้วย