การใช้อนุพันธ์ของ C60 เป็นตัวยับยั้งไวรัส: ศึกษาโดยวิธีด็อกกิ้งแบบแข็งเกร็งและยืดหยุ่น
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีรพงศ์ ไพโรจน์ศิริกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ประวิทย์ สุดแก้ว
วรรณจันทร์ แสงหิรัญ ลี
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โมเลกุลาร์ด็อกกิ้งถูกนำมาใช้ศึกษาอันตรกิริยาระหว่างอนุพันธ์ของฟุลเลอรีนและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของไวรัส 3 ชนิดคือ HIV 1, SARS CoV and H5N1 โดยเลือกอนุพันธ์ของฟุลเลอรีน 9 ชนิดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งไวรัสมาด็อกกับเอนไซม์เหล่านี้โดยใช้โปรแกรมAutodock 3.0.5 และ CAChe6.1 สำหรับการด็อกแบบแข็งเกร็ง ยืดหยุ่นและการด็อกแบบยืดหยุ่น ยืดหยุ่นตามลำดับ ค่าพลังงานการยึดจับคำนวณโดยใช้ Autodock อยู่ในช่วง 8.27 ถึง 21.63 kcal/mol และค่า PMF scores คำนวณโดยใช้ CAChe อยู่ในช่วง 156.09 ถึง 555.10 kcal/mol ค่าพลังงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความน่าจะเป็นในการใช้อนุพันธ์ของฟุลเลอรีน เป็นตัวยับยั้ง HIV 1, SARS CoV and H5N1 โดยที่อนุพันธ์ของฟุลเลอรีนที่ยึดจับกับ HIV 1, SARS CoV and H5N1 ได้มีประสิทธิภาพคือ อนุพันธ์ของฟุลเลอรีนหมายเลข 1 และ 7