การดูดซับพลังงานเสียงของวัสดุธรรมชาติ
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุภณัฐ สุวัฒนภักดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
คร.วีระศักดิ์ สระเรืองชัย
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ธรรมชาตอกับเสียง 2 สิ่งนี้มีความสัมพันธ์กันอยู่มากมาย หนึ่งในความสัมพันธ์เหล่านั้น คือ การที่สิ่งต่างๆในธรรมชาติสามารถดูดซับเสียงได้ ทำให้เสียงเกิดการหายไป ไม่สะท้อนไป – มา บนโลกไม่สิ้นสุด โครงงานนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์นี้ โดยเลือกผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติมา 3 ชนิด ได้แก่ เปลือกส้ม เปลือกมะม่วงและกากของถั่วเหลืองมาทำการทดสอบการดูดซับเสียง โดยหวังว่าหากการทดลองประสบความสำเร็จจะสามารถนำวัตถุเหล่านี้ไปประดิษฐ์สิ่งของที่นำไปใช้ประโยชน์เพิ่มเติมได้ การทดลองนี้เริ่มต้นจากการออกแบบอุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการทดลองแบบเดิมที่ใช้ในเรื่องนี้ซึ่งใช้ Standing wave tube นั้น ดูได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากต้องปล่อยให้เสียงที่ไม่ได้ถูกดูดซับกับเสียงที่ถูกดูดซับไปแล้วมาแทรกสอดกัน ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะสร้างอุปกรณ์ขึ้นใหม่โดยอาศัยแบบเดิมมาดัดแปลงให้เกิดเสียงการสะท้อนตามหลักกฎการสะท้อนของคลื่น เมื่อสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาได้ จึงนำวัสดุมาปั่นให้มีขนาดเล็กและรวมเป็นเนื้อเดียว ง่ายต่อการทำเป็นรูปร่างต่างๆ แล้วนำมาทดลอง โดยปล่อยคลื่นเสียงเข้าไปในปลายท่อที่ออกแบบเองด้านหนึ่ง ให้สะท้อนกับวัตถุ กลับมาจะได้คลื่นเสียงที่ถูกดูดซับสะท้อนกลับมาทำการวัดความเข้มเสียง (ความดัง) จากผลการทดลอง ผลค่อนข้างออกมาไม่แน่ชัด อาจจะคิดได้ว่าเปลือกส้มและกากถั่วเหลืองสามารถดูดซับเสียงได้มากกว่าเปลือกมะม่วง เนื่องจากการทดลองนี้ ถ้าต้องการผลที่ถูกต้องแน่นอนจะต้องอาศัยความประณีต และความอดทนมากกว่านี้ ซึ่งเวลาจะเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างมาก หากมีโอกาสที่จะได้ศึกษาเรื่องนี้ต่อไป ก็ควรจะจัดการอุปกรณ์ เครื่องมือรวมถึงวัสดุที่ใช้ทดะลองให้มีควาพร้อมมากขึ้น เพิ่มจำนวนสิ่งที่จะต้องทดลองมากขึ้น และลองนำวัสดุมาผสมกันเพื่อทดลองด้วย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป