การทำชุดทดสอบแอมโมเนียในน้ำแบบประหยัด
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เกษิณี เกตุเลขา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิพนธ์ วงศ์วิเศษสิริกุล
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “การทำชุดทดสอบแอมโมเนียในน้ำแบบประหยัด” จัดทำขึ้นเนื่องจากเกษตรกรที่มีอาชีพเลี้ยงกุ้งในจังหวัดฉะเชิงเทราประสบปัยหาเกี่ยวกับการใช้ชุดทดสอบสำเร็จรูป (est kit) ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ เนื่องจากชุดทดสอบมีราคาแพง และทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสีได้ไม่ชัดเจนในสารละลายที่มีสมบัติเป็นเบสอ่อน ซึ่งเริ่มเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ส่วนน้ำที่มีสมบัติเป็นเบสอ่อน (pH 7.5 8.2 ) ความเข้มข้นของแอมโมเนีย 0.02% เริ่มเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ โดยเฉพาะกุ้งและปลาซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ จึงมีแนวคิดจัดทำชุดทดสอบแอมโมเนียจากวัชพืช คือเถาคัน (Vitis trifolia L.) และพืชท้องถิ่น 2 ชนิดคือ กระเจี๊ยบแดง และอัญชัน ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาการทำปฎิกิริยาระหว่างที่สกัดจากพืชทั้ง 3 ชนิด กับสารละลายที่มีความเข้มข้นของแอมโมเนีย 0.01% 0.05% เปรียบเทียบวิธีการเก็บรักษารงควัตถุในรูปสีน้ำ กระดาษและผงสี และนำไปวัดคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งและปลาในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้ชุดทดสอบแอมโมเนียจากธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่ารงควัตถุสกัดจากเถาคัน กระเจี๊ยบแดง และอัญชัน สามารถทดสอบคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งแลพปลาได้แต่สารสกัดจากเถาคันเหมาะสมกว่า เนื่องจากเป็นวัชพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์น้อยโดยใช้สารละลายกรดเปลี่ยนสีได้ชัดเจน ส่วนในสารละลายเบสเปลี่ยนสีชัดเจน โดยใช้สารละลายกรดเปลี่ยนสีไม่ชัดเจน ส่วนในสารละลายเบสเปลี่ยนสีชัดเจน การเก็บรักษารงควัตถุในรูปแบบผงสีสามารถคงสภาพความเป็นอินดิเคเตอร์ได้ดีกว่าการรักษาในรูปแบบน้ำสี และกระดาษ ชุดทดสอบนี้สามารถทดสอบนี้สามารถทดสอบนำจากบ่อเลี้ยงกุ้งและปลาได้ผลตรงกับการใช้ชุดทดสอบสำเร็จรูป และเกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากในการทดสอบ