หุ่นยนต์ช่วยการทำงานในที่สูง

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พงศกร พลจันทร์ขจร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ถวิดา มณีวรรณ์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาประยุกต์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันนี้ การเดินทางคมนาคมของประเทศไทยได้เจริญไปอย่างรวดเร็ว มีการสร้างถนนเพื่อสนับสนุนโครงข่ายการคมนาคม ถนนเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตั้งไฟส่องสว่างเป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ถนน เสาไฟที่ติดตั้งนั้น ส่วนใหญ่ค่อนข้างสูง ซึ่งเมื่อเกิดชำรุดขึ้น การซ่อมแซมก็ทำได้ยากและอาจเกิดอันตรายต่อช่างที่ขึ้นไปซ่อมได้ คือ ช่างซ่อมอาจพลัดตกลงมาซึ่งเป็นการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น แนวความคิดในการประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อช่วยทำงานในที่สูงนี้จึงเกิดขึ้นมาเพื่อใช้ตรวจสอบและซ่อมแซมสายไฟ และอุปกรณ์บนเสาไฟ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานซ่อมบำรุงให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยเหลือการทำงานให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิ์ภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หุ่นยนต์ที่ได้ออกแบบขึ้นนั้นจะมีความสามารถในการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ขึ้นลงบนเสา รวมทั้งมีการติดตั้งกล้องบนตัวหุ่นยนต์ ซึ่งนอกจากจะใช้ในการตรวจสอบ ซ่อมแซมเสาไฟได้ตามคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นนั้นยังสามารถนำไปใช้ในด้านอื่น ๆ ได้ อาทิเช่นการตรวจดูสภาพการจราจรในท้องถนน ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ตลอดจนตรวจสอบอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์อันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือใช้ในการถ่ายภาพ Panorama ในแนวดิ่งเพื่อใช้ถ่ายภาพรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของอาคารได้อีกด้วย