กระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤษนัย กัลป์ปะ

  • อนุชา คนงานดี

  • นนทกร จันทรวรกาญจน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิภาพร ประชากุล

  • อุไรวรรณ ประชากุล

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิสุทธรังษี

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษามัธยมปลาย

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการศึกษาการทำกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ โดยใช้เส้นใจจากวัสดุธรรมชาติชนิดต่างๆ โดยคณะผู้จัดทำได้แบ่งการทดลองนี้เป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาวัสดุจากธรรมชาติชนิดต่างๆที่ใช้ในการทำกระถางเพาะชำได้ดี ตอนที่ 2 ศึกาอัตราส่วนที่เหมาะสมของใยมะพร้าวกับแป้งเปียกที่ใช้ในการทำกระถ่างเพาะชำ ตอนที่ 3 ศึกษาระยะเวลาในการคงรูปร่างของกระถางเพาะชำ ตอนที่ 4 ศึกษาผลของมูลสัตว์ที่นำมาผสมกับกระถางเพาะชำ ขั้นตอนการดำเนินการทดลองมีดังนี้ ตอนที่ 1 นำแป้งมันมาละลายน้ำแล้วตั้งไฟอ่อนเคี่ยวจนใส และตั้งพักไว้ให้เย็น จากนั้นนำวัสดุที่ใช้ในการทำกระถาง (ใยมะพร้าว, หญ้าแพรก, ฟาง, ขี้เลื่อย, แกลบ) มาผสมกับแป้งเปียกแล้วบรรจุใส่แม่พิมพ์ อัดจนแน่น ใช้ฐานเหล็กดันออกและรอให้กระถางแห้ง ตอนที่ 2 นำวัสดุธรรมชาติ (ใยมะพร้าว) ผสมกับแป้งเปียกในอัตราส่วน 3:1, 2:1, 1:1, 1:2 และ 1:3 แล้วบรรจุใส่แม่พิมพ์อัดจนแน่น ใช้ฐานเหล็กดันออกและรอให้กระถางแห้ง ตอนที่ 3 นำกระถางที่ทำจากวัสดุและอัตราส่วนที่ดีที่สุดคือ ใยมะพร้าว กับแป้งเปียกเท่ากับ 1:3 มาปลูกเมล็ดถั่วดำ และรดน้ำ สังเกตจำนวนวันที่กระถางคงรูปร่างได้ ตอนที่ 4 นำวัสดุจากธรรมชาติ (ใยมะพร้าว) มาผสมมูลวัวกับแป้งเปียก แต่อีกกระถางหนึ่งไม่ผสมมูลวัว ปลูกพืชทั้งสองกระถาง แล้วสังเกตการณ์เจริญเติบโตของต้นพืชในแต่ละสัปดาห์ จากการทดลองได้ผลดังนี้ คือกระถางเพาะชำจากวัสดุจากธรรมชาติที่ทำจากใยมะพร้าวในอัตราส่วนระหว่างใยมะพร้าวกับแป้งเปียก เท่ากับ 1:3 มีลักษณะภายนอก ความคงทน และความสามารถในการยึดเกาะดีที่สุด สามารถดูดซับน้ำ 100 cm3ได้เฉลี่ย 4.73