การบำบัดกลิ่นเหม็นในน้ำเน่าเลียH2Sด้วยวิธีการทางชีวภาพ

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประภาวุฒิ ปานสีทอง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สมชาย สันติวัฒนกุล

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิยาลัย

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากสิ่งต่างๆรอบๆ ตัวของเราในปัจจุบัน เมื่อเรามองย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับในอดีตแล้ว เราจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนกว่า ธรรมชาติในปัจจุบันแย่ลงมากเพียงใด สิ่งต่างๆที่มีอยู่ในธรรมชาติเกิดมลภาวะขึ้น เช่น อากาศเป็นพิษ ป่าไม้ถูกทำลาย รวมไปถึงปัญหาน้ำเน่าเสีย ซึ่งผมเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่เราจะมองข้ามไม่ได้ เพราะถ้าเมื่อเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียแล้ว ก็มักจะเกิดปัญหาอีกหลายๆอย่างตามมา เช่น ขาดแคลนแหล่งน้ำใช้ประโยชน์ ส่งกลิ่นเหม็นทำให้เกิดความรำคาญ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค ปัญหาที่ผมสนใจอย่างหนึ่งที่เกิดจากน้ำเน่าเสียนั้น ก็คือปัญหาการส่งกลิ่นเหม็นของน้ำเน่าเสียซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งมีแนวทางการแก้ไขปัญหานี้โดย การใช้วิธีการทางชีวภาพ คือ การใช้จุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายสิ่งที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในน้ำเน่าเสียก็ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ ![(H_2S)](/latexrender/pictures/8b5/8b563903b80c2d538dc8d62c9db39141.gif) โดยจุลินทรีย์ที่ใช้คือ Sulfur Bacteria ที่มีชื่อว่า Thiobacillus ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้มีความสามารถในการเปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์![(H_2S)](/latexrender/pictures/8b5/8b5/8b563903b80c2d538dc8d62c9db39141.gif) ให้กลายเป็น ![S0](/latexrender/pictures/8b5/8b5/fa4/fa4373030709881197fd6070eaecb61f.gif) และ ![SO_4^{2 }](/latexrender/pictures/8b5/8b5/fa4/f44/f44de87484340dcb3aa2684f165e1227.gif)ได้ตามลำดับ ในสภาพที่มีก๊าซออกซิเจน ซึ่งจะทำให้กลิ่นเหม็นที่เกิดจากน้ำเน่าเสียลดน้อยลงไปได้ โดยในการทดลอง จะดำเนินการโดยนำแบคทีเรีย Thiobacillus ใส่วงไปในน้ำเน่าเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นนั้น ด้วยวิธีที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เช่นละลายแล้วอาจนำไปผสม หรือนำไปพ่นเป็นละอองเหนือผิวน้ำ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้โดยการดมกลิ่น หรือใส่สารบางชนิด เช่น ![FeCI_2](/latexrender/pictures/8b5/8b5/fa4/f44/7b2/7b26c27b35c8bba02678ecf1ff5c6c3c.gif) ลงไป เพื่อให้ทำปฏิกิริยากับ ![SO_4^{2 }](/latexrender/pictures/8b5/8b5/fa4/f44/7b2/f44/f44de87484340dcb3aa2684f165e1227.gif) เกิดเป็น ![FeSO_4](/latexrender/pictures/8b5/8b5/fa4/f44/7b2/f44/77a/77ae4e7ab41d8823f75f787af013264f.gif) ตกตะกอนลงไปแล้วดูว่าเกิดตะกอนขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งถ้าเกิดตะกอนของ ![FeSO_4](/latexrender/pictures/8b5/8b5/fa4/f44/7b2/f44/77a/77a/77ae4e7ab41d8823f75f787af013264f.gif) มากก็เท่ากับว่าแบคทีเรีย Thiobacillus สามารถลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากน้ำเน่าเสียที่เป็น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ ![(H_2S)](/latexrender/pictures/8b5/8b5/fa4/f44/7b2/f44/77a/77a/8b5/8b563903b80c2d538dc8d62c9db39141.gif) ได้ดีและสามารถนำไปปรับปรุงในการใช้ประโยชน์ได้ต่อไป