เตาเผาขยะลดมลพิษ
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สมชาย จินดามณี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วิรุฬห์ สายคณิต
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากสภาพปัญหาขยะจากแหล่งต่าง ๆ ในปัจจุบันซึ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกที ทางคณะผู้จัดทำจึงได้สนใจและคิดหาแนวทางที่ดีที่สุดในการกำจัดขยะ โดยให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จึงได้ทำการศึกษาวิธีการกำจัดขยะโดยการเผาที่มีจุดเด่น คือ ลดก๊าซพิษซึ่งจากการเผาด้วยวิธีต่าง ๆ จากการศึกษาของนักวิชาการและโครงงานขยะที่ผ่านมา ทางคณะผู้จัดทำได้สังเกตเห็นว่า เตาเผาขยะส่วนใหญ่ยังขาดอุปกรณ์เสริมเพื่อให้อากาศ และก๊าซออกซิเจน ไหลเวียนอย่างเพียงพอเพื่อการเผาไหม้ในตัวถัง ทำให้เกิดการเผาใหม่ที่ไม่สมบรูณ์ให้เขม่า และเมื่อเกิดการเผาไหม้อย่างสมบรูณ์จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปล่อยสู่บรรยากาศในปริมาณมากอยู่ ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้ทำการออกแบบอุปกรณ์เสริมภายในตัวถังด้วยตะแกรงเหล็ก เพื่อให้ขยะมีพื้นที่สัมผัสกับอากาศมากที่สุด และมีการต่อพัดลมอากาศ (BLOWER) 2 จุด คือที่ก้นถัง และที่ท่อนำควันเพื่อไล่อากาศและควันตามลำดับ ในขั้นต่อมาได้ติดตั้งอุปกรณ์พ่นน้ำปูนใส ![Ca(OH)_2](/latexrender/pictures/82b/82b267d2e56b70fb0925028e9c06cb7f.gif) ไว้ที่ท่อนำควันสำหรับพ้นน้ำปูนใสเพื่อดักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในควัน ซึ่งได้จากการเผาไหม้ที่สมบรูณ์ แล้วตะกอนที่กระบะรองน้ำด้านล่าง ส่วนควันที่ได้จากการเผาเมื่อถูกน้ำก็จะแขวนลอยแล้วไหลมารวมกันที่กระบะรองน้ำด้านล่างเช่นกัน การตรวจสอบประสิทธิภาพของเตาเผาขยะนั้นสามารถวัดได้จากปริมาณตะกอนในกระบะรองน้ำ โดยการชั่งน้ำหนักน้ำตะกอนที่ได้ แล้วคำนวณหามวลตะกอน หากเกิดตะกอนมากเท่าใดนั้นแสดงว่าภายในเตาเกิดการเผาไหม้สมบรูณ์มากเท่านั้น เนื่องจากการเผาไหม้ที่สมบรูณ์จะทำให้ ![CO_2](/latexrender/pictures/1f9/1f97ded0269589e6de9986986596b429.gif) ออกมา หากการเผาไหม้ภายในตัวถังยังขาด ![O_2](/latexrender/pictures/1f9/49e/49e4fe93c55ea5f2b7bf970512cbc408.gif) อยู่ซึ่งทำให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ![CO_2](/latexrender/pictures/1f9/49e/1f9/1f97ded0269589e6de9986986596b429.gif) ก็จะน้อยทำให้ตะกอนที่ได้มีปริมาณน้อยลงเช่นกัน ดังนั้นผลการทดลองที่ได้จึงเป็นการสังเกตตัวเลขของปริมาณตะกอนเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทางคณะผู้จัดทำจะได้ทำการเผยแพร่ข้อมูลหลังจากโครงงานชิ้นนี้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนหรือครัวเรือน ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว