ขจัดสิ้น แดดิ้น แมลงวันทอง

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นรงค์ เพ็ชรทองคำ

  • ธนิชชา ไพโรจน์สรกิจ

  • จารุวรรณ พวงรอด

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุปราณี ศรีวิชา

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษามัธยมปลาย

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง ขจัดสิ้น แดดิ้น แมลงวันทอง มีวัตถุประสงค์ของโครงงาน เพื่อจะนำพืชผักสวนครัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์คือ กะเพรา เนื่องด้วยปัจจุบันนี้พบว่าแมลงวันทองนั้นสร้างปัญหาให้กับสวนผลไม้ เพราะแมลงวันทองจะมาวางไข่ใต้ผิวเปลือกของผลไม้ ไข่จะฟักตัวเป็นหนอนทำให้ผลไม้เน่าเสีย ทางกลุ่มได้สังเกตว่าแมลงวันทองชอบตอมต้นกะเพรา จึงนำใบกะเพรามาสกัดเป็นสารล่อแมลงวันทอง โดยใช้ใบกะเพราขาวและกะเพราแดงมาหมักกับตัวทำละลายของเอทิลแอลกอฮอล์ น้ำ และเหล้าขาว ในความเข้มข้น 60 % นำไปทดลองล่อแมลงวันทองเพื่อหาตัวทำละลายที่ดีที่สุด ในการสกัดใบกะเพรา ผลที่ได้ในการทดลอง คือ เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายที่ดีที่สุด ขั้นตอนต่อไปก็นำใบกะเพราขาวและกะเพราะแดงมาหมักกับเอทิลแอลกอฮอล์ ในความเข้มข้น 40,60 และ 80 % แล้วนำมาล่อแมลงวันทองโดยใช้สำลีขนาด 4 × 6 เซนติเมตร ชุบสารในปริมาณ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ไว้ในขวดดักแมลงวันทองทั้ง 6 ขวด ทำ 3 ซ้ำจำนวน 10 วัน ผลปรากฏว่าทั้งกะเพราขาวและกะเพราแดงที่ความเข้มข้น 80 % ล่อแมลงวันทองได้ดีที่สุด จากนั้นหาระยะเวลาที่ดีที่สุดในการหมักใบกะเพรากับเอทิลแอลกอฮอล์ในระยะเวลา 12 , 24 และ 36 ชั่วโมง ที่ความเข้มข้น 80 % ผลปรากฏว่าระยะเวลาในการหมักที่ดีที่สุด คือ 24 ชั่วโมงทั้งกะเพราขาวและกะเพราแดง ขั้นตอนสุดท้ายคือการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างสารสกัดจากใบกะเพราขาวและกะเพราแดงที่ปรากฏว่าสารล่อแมลงวันทองที่สกัดขึ้นและสารเมธิลยูจินอลพบว่าสามารถล่อแมลงวันทองได้ผลใกล้เคียงกันมาก นอกจากนี้ทางกลุ่มยังนำความรู้จากการสกัดสารล่อแมลงวันทองไปบอกกับชาวสวนให้ได้รับความรู้อีกด้วย ตอนนี้ก็ทราบแล้วว่าสารที่ทางกลุ่มสกัดขึ้นเองนั้นมีคุณภาพไม่แพ้ตามท้องตลาดซึ่งสารที่ทางกลุ่มสกัดขึ้นยังเป็นการประหยัด ปลอดภัย และเป็นการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย จึงสรุปได้ว่าสารสกัดใบกะเพรา 80 % หมักในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ใช้แทนเมธิลยูจินอลที่ขายตามท้องตลาด ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน ทั้งยังราคาถูก ไม่มีสารพิษตกค้าง ยังช่วยลดต้นทุนการเกษตรของชาวสวนอีกด้วย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

มัธยมต้น