การแยกเชื้อแบคทีเรียจากดินและน้ำพุร้อนที่สามารถผลิตเอนไซม์ย่อยโปรตีนในสภาวะด่างและอุณหภูมิสูง

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุรัชดา จุลละพราหมณ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประเสริฐ สันตินานาเลิศ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหาวชิราวุธ

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียจากตัวอย่างดินจากแหล่งต่างๆและตัวอย่างน้ำจากบ่อน้ำพุร้อน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง และทำการหาปริมาณเชื้อแบคทีเรีย พบว่า ตัวอย่างดินจากซอยไทรบุรี 39 สงขลา และตัวอย่างน้ำพุร้อน มีจำนวนเชื้อแบคทีเรียมากที่สุดและน้อยที่สุด ตามลำดับ เมื่อนำมาคัดแยกเชื้อได้แบคทีเรียจำนวน 17 สายพันธุ์ แล้วนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งมี skim milk medium pH 9 ที่อุณหภูมิ 37 และ 55 องศาเซลเซียส เพื่อสังเกตการสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยโปรตีนในสภาวะด่าง และอุณหภูมิต่างกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนใจ ปรากฏว่า แบคทีเรียที่แยกได้จากตัวอย่างน้ำพุร้อนไม่สามารถผลิตเอนไซม์ย่อยโปรตีนได้ในทั้งสองสภาวะแต่แบคทีเรียอีก 16 สายพันธุ์สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยโปรตีนได้โดยสังเกตจากจะเกิดบริเวณใส (clear zone) รอบ colony ของแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการที่เอนไซม์ย่อย skim milk medium แล้วจึงนำมาศึกษาต่อไปโดยศึกษาลักษณะต่างๆเช่น ความสามารถในการย่อยโปรตีนเคซีนใน skim milk medium (degree of hydrolysis), รูปร่างของแบคทีเรีย, การติดสีย้อม เป็นต้น จากนั้นนำมาเพาะเลี้ยงลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งมี skim milk medium pH 7 เพื่อทดสอบว่าแบคทีเรียจะสามารถเติบโตได้หรือไม่ ปรากฏว่า มีแบคทีเรีย 4 สายพันธุ์ที่ชอบด่างและอุณหภูมิสูง คือ สายพันธุ์ PS963 PS964 จากตัวอย่างดิน ซอยไทรบุรี 39 และ PS965 PS966 จากตัวอย่างดินที่แปลงผัก คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. กิจกรรมที่สนใจขั้นต่อมา คือการคัดเลือกสายพันธุ์แบคทีเรียที่สามารถผลิตเอนไซม์ย่อยโปรตีนได้สูงสุด 4 สายพันธุ์ คือ PS951 PS952 PS953 PS954 มาตรวจหากิจกรรมของเอนไซม์ย่อยโปรตีนตามขั้นตอนพบว่า แบคทีเรีย สายพันธุ์ PS951 และ PS953 มีกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยโปรตีน 0.85 และ 0.72 หน่วยต่อมล.ตามลำดับ ส่วน PS952 PS954 ไม่พบกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยโปรตีน