การคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่มีความทนทานต่อโลหะหนักแคดเมียมจากแหล่งน้ำและกำแพงทาสีบางแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พันธุ์วงค์ คุณธนะวัฒน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อมเรศ ภูมิรัตน
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานมีวัตถุประสงค์ศึกษาสายพันธุ์และทำการคัดเลือกสาหร่ายขนาดเล็กจากแหล่งน้ำและพื้นที่ผิวบางบนบกยางแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนที่มีความทนทานต่อแดคเมียมความเข้มข้นต่าง ๆ โดยเลือกสถานที่ทำการศึกษาดังนี้ คูเมืองหน้าตลาดสมเพชร คลองแม่ข่าบริเวณใกล้โรงแรมเพชซซิเดนท์ อ่างเก็บน้ำเกษตร (กาแล) อ่างเก็บน้ำอ่างแก้ว กำแพงหน้าวัดมหาวัน และกำแพงตึกชีววิทยามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนความเข้มข้นของแคดเมียมในอาหารเหลวที่ทำการทดลองคือ 0.05 , 0.08 , 0.2 , 0.5 , 1 , 2.5 และ 5 ppm รวมถึงการแยกสาหร่ายเหล่านี้ให้บริสุทธิ์และเพาะขยายเพาะขยายปริมาณเพื่อการศึกษาประสิทธิภาพและรูปแบบกระบวนการหลักที่สาหร่ายเหล่านั้นใช้ในการลดปริมาณแคดเมียมจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง จนถึงขณะนี้สามารถดำเนินงานจนพบสาหร่ายขนาดเล็กที่มีความทนทานแคดเมียมที่ความเข้มข้นต่าง ๆ อยู่ใน 4 divisions , 7 orders , 12 families , 17 genera ซึ่งชนิดที่เด่นได้แก่ Chlorella sp. Monorphidium sp. , Scenedesmus sp. , Navicula sp. , และ Nitzschia sp. , สามารถแยกสาหร่ายที่มีความทนทานต่อแดคเมียมเหล่านี้ให้บริสุทธิ์ได้แล้ว 3 ชนิด จากสาหร่ายที่ทำการคัดเลือกไว้ 11 ชนิด และในจำนวน 3 ชนิดนี้ สามารถเพาะเลี้ยงขยายปริมาณในอาหารเหลว จนปริมาตร 100 ml ได้แล้ว 1 ชนิด ในการปฏิบัติงานในโครงงานชิ้นนี้ประสบอุปสรรคหลายประการด้วยกัน เช่น อุปสรรคด้านความห่างไกลกับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงหลัก ด้านเทคนิคทางจุลชีววิทยา และ ในเรื่องของมลพิษที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลอง เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ส่งผลให้การดำเนินงานติดขัดและล่าช้าออกไปจนกระทั่งไม่สามารถดำเนินงานให้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมด แต่ถึงกระนั้นผู้ปฏิบัติงานยังสนใจที่จะทำการศึกษางานชิ้นนี้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือ เพราะผู้ปฏิบัติงานเห็นว่าเหล่านั่นเป็นภาคประยุกต์ที่น่าสนใจที่จะทำการศึกษาสารที่มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณแคดเมียมที่เป็นพิษ ที่ได้จกสาหร่ายอันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านชีวเคมีและพันธุ์วิศวกรรมในระดับสูงต่อไป