ขี้เหล็กเร่งการสุกของผลไม้
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปาลวี ศรีผ่าน
นิภาพร รำจวนเกียรติ
ปิยะนุช สุริยันต์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วันดีสุริยันต์
จักรกฤษณ์ สุริยันต์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องขี้เหล็กเร่งการสุกของผลไม้ คณะผู้จัดทำได้เห็นความสำคัญในการทำให้ผลไม้สุกเพราะปัจจุบันมีผู้นิยมรับประทานผลไม้สุกกันมาก และผลไม้สุกที่วางขายตามท้องตลาด ผู้ค้าส่วนใหญ่ใช้สารเคมีที่จะช่วยทำให้ผลไม้สุก จึงหาวิธีที่จะเร่งการสุกของผลไม้โดยใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไป มีปริมาณมากและหาง่าย ได้เลือกใช้ใบขี้เหล็กมาบ่มผลไม้เพื่อทำให้ผลไม้สุก โดยได้ศึกษาชนิดของใบไม้ที่มีผลทำให้อุณหภูมิในการบ่มสูงขึ้นและได้เลือกใช้ใบไม้ 9 ชนิด คือ ใบขี้เหล็ก ใบสะเดา ใบมะยม ใบจามจุรี ใบกระถิน ใบมันสำปะหลัง ใบยอ ใบมะขาม ใบชัยพฤกษ์ มาทดสอบเพื่อหาอุณหภูมิในการบ่มพบว่าใบขี้เหล็กสามารถทำให้อุณหภูมิในการบ่มสูงที่สุด และได้ศึกษาลักษณะของใบขี้เหล็ก (ใบอ่อน ใบแก่) ปริมาณของใบขี้เหล็กที่ใช่บ่ม และระยะเวลาที่บ่มจากการทดลองศึกษาพบว่าการใช้ใบขี้เหล็กใบแก่ปริมาณ 0.5 Kg / มะม่วงแก้ว 20 ลูกโดยใช้ระยะเวลาบ่ม 2 วันจะทำให้มะม่วงแก้วสุกได้เหมาะสมที่สุด ชนิดของมะม่วงที่ใช้บ่มโดยใช้ มะม่วงแก้ว มะม่วงโชคอนันต์ สามารถสุกได้ดีกว่ามะม่วงน้ำดอกไม้ (พันธุ์สีทองและเบอร์ 4) ในระยะเวลาที่บ่ม 2 วัน จากการทดลองพบว่าแคลเซียมคาร์ไบด์เร่งการสุกมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้ดีที่สุด รวมทั้งใบขี้เหล็กสามารถเร่งการการสุกของผลไม้จำพวกน้อยหน่า ละมุด กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ได้ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน