การทดลองสร้าง pH – TEST KIT

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สกลวรรณ ชาวไชย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ดวงใจ นาคะปรีชา

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์ )

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเคมี

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต pH – TEST KIT โดยอาศัยหลักการเทียบสีของ สารละลาย mixed indicator ที่สามารถให้สีบ่งบอกความเป็นกรด เบส ได้ชัดเจนในช่วง pH 2 12 โดยเลือกศึกษาสาร single Indicator ที่ให้สีในช่วง pH ตางๆ กันในช่วงกรดกลาง และเบส และเลือก single indicatorที่สนใจนำมาผสมกันโดยใช้ชนิดของอินดิเคเตอร์ต่อไปนี้ phenolphthalein methyl red methylorange bromo thymol dlue และ thymol blue นำสารละลาย mixed indicator ที่เตรียมได้มาทดสอบกับสารละลายมาตรฐาน pH ต่างๆที่ เตรียมไว้ โดยเตรียมเป็นสารละลาย Buffer ที่มีค่า pH 2 12 จากการผสม Doric 0.2 M + citric acid 0.05 M ละลาย ในdisodium Phosphate. ![2H_2](/latexrender/pictures/9b3/9b3ae8dcbe5f7a1dbc16984eb14efe54.gif) ใน 2% (W/V) NaOH ในการทดสอบการให้สีของอินดิเคเตอร์ใช้อัตราส่วนสาร ละลายมาตรฐาน pH 2 ml ต่อ mixed indicator solution 1 หยดทำในหลอดทดลอง จากการทดลองพบว่า สารละลาย mixed indicator ไม่สามารถให้สีชัดเจนได้ทุกช่วง pH กับสารละลายมาตรฐาน pH ทั้ง 2 แบบ โดยสามารถให้สีชัดเจนในช่วง pH 1,2,4,6,8,10 ดังนั้นจึงต้องปรับปรุง mixed indicator solution ให้ดีขึ้นในลำดับต่อไป เช่น อาจจะเดิน indicator บางตัวลงไปอีกเพื่อทำให้เห็นสีที่แตกต่าง กับชัดเจนในทุกๆ pH หรือถ้าไม่สามารถทำได้ ก็จะเปลี่ยนไปใช้ solution indicator แล้ว vary ค่า pH ที่อยู่ในช่วงที่ indicator นั้นเปลี่ยนสี