การศึกษาผลกระทบของตะกั่วที่สะสมภายในอ่าวปัตตานีต่อแปลงเพราะเลี้ยงหอยบริเวณบ้านแหลมนก ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปฏิวัติ จันทนา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุธชา ชวนิชย์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตปัตตานี

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานฉบับนี้นั้นมุ่งเน้นที่จะศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปริมาณตะกั่วสะสมภายในอ่าวปัตตานี ซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตภายในอ่าวปัตตานี โดยเลือกสถานที่ทำการศึกษาคือ แปลงเลี้ยงหอยแครงบ้านแหลมนก ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยทำการศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแปลงเพาะเลี้ยงและปริมาณตะกั่วสะสมในตะกอนขนาดอนุภาค ≤180pm ผลจากการสำรวจพบว่ามีปริมาณสารตะกั่วที่สะสมอยู่ในช่วง 100 140 ppb ในน้ำบริเวณแปลงเพาะเลี้ยงและสารตะกั่วที่สะสมอยู่ในช่วง 30 37 ppm ในดินบริเวณแปลงเพาะเลี้ยง แต่จากการศึกษาหอยแครง (Anadara grarosa) และหอยแมลงภู่ (Perana virides) พบว่า ไม่พบเจอสารตะกั่วที่สะสมในเนื้อเยื่อหอยทั้งสองชนิดในขนาดเล็ก แต่ในหอยทั้งสองชนิดขนาดกลางขึ้นจะพบเจอปริมาณสารตะกั่วสะสมในเนื้อเยื่อในช่วง 30 35 ppm ไปมีปริมาณตะกั่วสะสมอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมากทีเดียว แต่มีนัยสำคัญที่ว่าหอยทั้งสองชนิดมีปริมาณตะกั่วสะสมใกล้เคียงกัน และสภาวะแวดล้อมทางปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่ปัจจัยทางด้านที่อยู่อาศัยของหอยทั้งสองชนิดอาจจะไม่มีผลต่อการสะสมของสารตะกั่วภายในเนื้อเยื่อของหอยสองชนิดได้