พืชสกุล Spindaceae และสกุลใกล้เคียงช่วยเศรษฐกิจไทย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุนี บุญญาวานิชย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ผ.อุษณีย์ พิชกรรม

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบางบัวทอง

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาผลของสารสกัดจากพืชสกุล Spindaeeae และสกุลใกล้เคียงต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้เมล็ดเงาะและเมล็ดลำไยเป็นตัวแทน ซึ่งเราใช้เมล็ดแก่เพราะเป็นลักษณะของเมล็ดทั่วไปที่คนนิยมรับประทาน จากผลการทดลองปรากฏว่าสารสกัดจากเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยมีปริมาณฮอร์โมนจิบเบอเรลลินอยู่ 40.5 และ 34.9 ng/gFW ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าปริมาณฮอร์โมนไซโตไคนินที่มีอยู่ 2.4 และ 2.1 ng/gFW ตามลำดับ จึงศึกษาเฉพาะฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในเมล็ดเงาะพันธุ์โรงเรียน และเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอ เปรียบเทียบกับฮอร์โมนเบอเรลลินในเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยที่ศึกษามีปริมาณความเข้มข้นระหว่างร้อยละ 202.9 และร้อยละ 194.6 เมื่อเทียบกับฮอร์โมนมาตรฐาน ![GA_3](/latexrender/pictures/39d/39d7f6823a16c37d0fad5030bd092f8e.gif) ความเข้มข้น 0 ppm ตามลำดับ และเทียบเป็นความเข้มข้นในช่วง 0.1 – 0.5 ppm เมื่อเทียบกับฮอร์โมนการค้า ยี่ห้อ Pro – Gibb และยี่ห้อ JIB ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับการใช้บำรุงพืชที่ต้องการ และถ้าเราสามารถนำสารสกัดจากเมล็ดพืชเหล่านี้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยมากขึ้นโดยใช้ทดแทนฮอร์โมน จิบเบอเรลลินตามที่เราศึกษามาแล้ว ก็จะแปรของที่เหลือใช้ให้เป็นเงินช่วยชาติได้ เนื่องจากฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ใช้อยู่ในประเทศไทยขณะนี้มีราคาแพง และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด จึงน่าจะนำโครงงานนี้เป็นแนวทางในการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อช่วยเศรษฐกิจไทยต่อไป