คอมพิวเตอร์กับการรู้จำเสียง
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พงศ์พันธ์ ด่านพิษณุพันธ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อัศนีย์ ก่อตระกูล
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันเกิดความต้องการให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียงพูด ของมนุษย์จึงทำให้เกิดศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งเรียกว่า การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition) เนื่องจากภาษาไทยนั้นเป็นภาษาที่มีรูปเสียงวรรณยุกต์ การรู้จำเสียงวรรณยุกต์จึงมาความสำคัญ บทความนี้เสนอการสร้างแบบจำลองระดับเสียงวรรณยุกต์ 5 ระดับสำหรับภาษาไทย ลักษณะของสัญญาณเสียงที่นำมาวิเคราะห์จะอยู่ในรูปของค่าแอมปริจูดในที่เวลาต่างๆ สัญญาณเสียงรูปวรรณยุกต์จะสามารถดูได้จากลักษณะของสัญญาณเสียงที่มีลักษณะคล้ายกับคาบเวลา ในกระบวนการหาความถี่ คือ สัญญาณเสียงพูดจะนำข้อมูลมาคำนวณหาคาบเวลา โดยใช้วิธีออโตโครีเลชั่นซึ่งถูกดัดแปลงบางส่วนโดยจะได้ผลออกมาในรูปของความถี่ของเสียงซึ่งก็คือรูปวรรณยุกต์นั้นเอง