ผลของฮอร์โมนเร่งรากจากวัชพืชในท้องถิ่น

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • น้ำอ้อย ทองชมพู

  • พรรณพร วิไลพันธ์

  • ปิยะนุช ฮามคำไพ

  • กิรติ ศรีปัดถา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สถิต ศรีมงคล

  • สำเภา จันหาญ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม เขตการศึกษา 10

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาผลในการเร่งการเกิดรากของกิ่งชำเทียนทอง เมื่อทดลองกับสารละลายที่สกัดจากยอดวัชพืชที่พบมากในท้องถิ่น 2 ชนิด คือ สารเสือ และผักโขม ที่ระดับความเข้มข้น 100, 200, 300 และ 400 กรัมต่อลิตร พบว่าอัตราการเกิดรากของกิ่งชำเทียนทองที่ทดลองกับสารละลายจากยอดสาบเสือ มีค่าเฉลี่ยจำนวนราก 4.4, 10.3, 13.8 และ 2.8 รากต่อกิ่งตามลำดับ และอัตราการเกิดรากของกิ่งเทียนทองที่ทดลองกับสารละลายจากยอดผักโขม มีค่าเฉลี่ยจำนวนราก 7.6, 10.9, 5.6 และ 0.8 รากต่อกิ่งตามลำดับ ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าอัตราการเกิดรากของกิ่งชำที่ทดลองในสารละลายของยอดวัชพืชที่ความเข้มข้นระดับต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ และผลจากการชั่งน้ำหนักรากของกิ่งชำเทียนทอง เมื่อทดลองกับสารละลายจากยอดวัชพืชเข้มข้น 100, 200, 300 และ 400 กรัมต่อลิตร พบว่าน้ำหนักรากของกิ่งชำเมื่อทดลองกับสารละลายจากยอดสาบเสือ มีค่าเฉลี่ย 0.210, 0.452, 0.519 และ 0.168 กรัมตามลำดับ สำหรับน้ำหนักรากกิ่งเมื่อทดลองกับสารละลายจากยอดผักโขมมีค่าเฉลี่ย 0.288, 0.444, 0.262 และ 0.073 กรัมตามลำดับ ผลจากการวิเคราะห์พบว่า น้ำหนักรากของกิ่งชำเมื่อทดลองในสารละลายจากยอดวัชพืชที่มีความเข้มข้นระดับต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ จากการเปรียบเทียบผลการทดลองพบว่าที่ความเข้มข้นของสารละลาย 100 และ 200 กรัมต่อลิตร อัตราการเกิดรากเมื่อทดลองในสารละลายจากยอดผักโขม จะมากกว่าจากยอดสาบเสือ แต่ถ้าสารละลายมีความเข้มข้น 300 และ 400 กรัมต่อลิตร การเกิดรากในสารละลายจากยอดสาบเสือจะมากกว่าจากยอดผักโขม