การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับโครเมียม(ІІІ)และฟีนอลด้วยถ่านกัมมันต์จากถ่านไผ่รวกที่กระตุ้นด้วย กรดไนตริก

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิตราภรณ์ จันทศร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาตรี

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเคมี

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การทดลองนี้เป็นการศึกษาสมบัติของถ่านกัมมันต์จากไผ่รวก (Thyrsostachys Siamensis Gamble)โดยการนำไผ่รวกไปทำการคาร์บอไนเซชันที่ 450 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงนำมาบดและคัดขนาดไห้ได้ไม่ต่ำกว่า 150 ไมครอน แล้วนำไปกระตุ้นด้วยกรดไนตริกเข้มข้น เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ของถ่านไม่ไผ่ทั้งก่อนและหลังกระตุ้นด้วย เทคนิค Fourier transform Infrared Spectrometry (FTIR) และลักษณะพื้นผิวด้วย Scanning electron microscope (SEM) นำถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ไปศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับโครเมียม โดยจะศึกษาถึง ปริมาณของถ่านที่ใช้ pH และเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งศึกษาค่าการดูดกลืนฟีนอล และไอโซเทอมการดูดกลืน โดยเปรียบเทียบค่าที่ได้กับ ถ่านไผ่รวกที่ยังไม่ได้กระตุ้น