การพัฒนาสีธรรมชาติที่สกัดจากกระเจี๊ยบและครั่ง เพื่อใช้สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดดายเซนซิไทส์แบบ ของแข็ง

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วิภาวี สดใสญาติ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • มาริสา อรัญชัยยะ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเคมี

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในการทดลองนำสีที่สกัดจากดอกกระเจี๊ยบ และ Carminic acid (CA) จากครั่งมาเติม Zn2+,Al3+,Cu2+, Sn2+ และ Sn4+ พบว่าสีจากดอกกระเจี๊ยบเกิดตะกอนสีเทาเมื่อเติม Sn2+ ขณะที่ CA เกิดตะกอนสีชมพูเมื่อเติม Sn2+ และ Sn4+ ตะกอนที่เกิดขึ้นคาดว่าเป็นสารเชิงซ้อนระหว่างโลหะและสี เมื่อทดสอบคุณสมบัติการละลายของตะกอนที่ได้ พบว่าตะกอนไม่ละลายในตัวทำละลายหลายชนิด เมื่อนำตะกอนที่ได้ใช้เป็นเซนซิไทเซอร์ พบว่าเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสีที่ไม่เติมโลหะ