การศึกษาหาปริมาณน้ำตาลทรีฮาโลสในเห็ด

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วิภาวี เลี้ยงรักษา คริษฐา เสมานิตย์

  • ปนัดดา สุรเมธสกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พรพิมล ม่วงไทย

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเคมี

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำตาลทรีฮาโลส เป็นน้ำตาลที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ เช่น พบในยีสต์ เห็ด น้ำตาลนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงไอโซเมอร์ของน้ำตาลมอลโทส น้ำตาลทรีฮาโลสนิยมใช้ในการเป็นสารเติมแต่งในอาหารงานวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาหาน้ำตาลในเห็ด 4 ชนิด คือ เห็ดเป๋าฮื้อญี่ปุ่น เห็ดนางรมหลวง เห็ดโคนญี่ปุ่น และเห็ดหูหนูโดยทำการสากัดด้วยเอทานอลที่มีความเข้มข้นร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 โดยปริมาตร นอกจากนี้ยังได้ศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการสกัดน้ำตาล โดยศึกษาที่อุณหภูมิห้อง, 50 และ 80 องศาเซลเซียสทำการศึกษาโดยเทคนิคทินแลร์โครมาโตรกราฟี (TLC) ในระบบตัวทำละลายเฟสเคลื่อนที่ 2 ระบบ คือบิวทานอล : เอทานอล : น้ำ : กรดแอซิติก ในอัตราส่วน 45 : 25 : 15 : 15 (ระบบที่ 1) และ บิวทานอล : ไพริดีน :น้ำ (ระบบที่ 2) ในอัตราส่วน 23.08 : 46.15 : 30.77 โดยจะทำการตรวจสอบจุดบนโครมาโตรแกรมด้วย 20% กรดซัลฟิวริก และ 0.5% โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ใน 1 นอร์มอล โซเดียมไฮดรอกไซด์ ผลการตรวจสอบเพื่อยืนยันน้ำตาลทรีฮาโลสเทียบกับสารละลายน้ำตาลมาตรฐานพบว่า การใช้ TLC สามารถบอกคุณภาพของน้ำตาลทรีฮาโลสได้ โดยใช้เฟสเคลื่อนที่ระบบที่ 1 และใช้ 20% กรดซัลฟิวริก เป็นตัวตรวจสอบที่เหมาะสมที่สุด และสามารถบอกได้ว่าจะพบน้ำตาลทรีฮาโลสในเห็ดทุกชนิดและจากการหาปริมาณโดยใช้เครื่อง UV visible spectrophotometer จะพบปริมาณของน้ำตาลทรีฮาโลสมากที่สุดในเห็ดนางรมหลวง