โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องหน่อไม้อินดิเคเตอร์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤตยา ไชยสมบูรณ์

  • กฤตยาพร เพ็ญชาติ

  • ยุพาวดี ศักดิ์กุ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • พืช การทดลอง

  • หน่อไม้

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง"หน่อไม้อินดิเคเตอร์"นี้เป็นโครงงานที่ทำการทดลองเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติการเป็นอิดิเคเตอร์สำหรับกรด- เบส ของพืชชนิดต่างๆที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นขมิ้นดอกอัญชัน และพืชที่น่ามีสมบัติการเป็นอินดิเคเตอร์สำหรับกรด-เบส ที่ดีที่สุดมาทดลองหาว่าส่วนใดของพืชดังกล่าวที่สามารถใช้เป็นอินดิเคเตอร์สำหรับกรด-เบสได้ดีที่สุดตลอดจนหาวิธีเก็บรักษาให้คงสมบัติการเป็นอินดิเคเตอร์สำหรับกรด-เบส ได้นานและดีที่สุด จากการทดลองพบว่า เปลือกหน่อไม้ไผ่ตงมีสมบัติเป็นอินดิเคเตอร์ ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารจากเปลือกหน่อไม้คือแอลกอฮอร์และอินดิเคเตอร์จากเปลือกหน่อไม้ในรูปสารละลายมีประสิทธิภาพดีกว่า กระดาษอินดิเคเตอร์จากเปลือกหน่อไม้ การทดลองแบ่งเป็น 8 ตอนดังต่อไปนี้ การทดลองตอนที่ 1 ศึกษาความเป็นกรด-เบส ของสารละลายที่ใช้ในการทดลอง การทดลองตอนที่2 ศึกษาชนิดของพืชที่เปลี่ยนสีในสารละลายที่ใช้ในการทดลอง การทดลองตอนที่3 ศึกษาชนิดของเปลือกหน่อไม้ที่สามารถนำมาใช้ในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่ใช้ในการทดลองได้ดีที่สุด การทดลองตอนที่4 ศึกษาว่าส่วนใดของหน่อไม้ไผ่ตงทีเหมาะสมในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่ใช้ในการทดลองได้ดีที่สุด การทดลองตอนที่5 ศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารที่เป็นอินดิเคเตอร์จากเปลือกหน่อไม้ การทดลองตอนที่6 การทำกระดาษอินดิเคเตอร์สำหรับกรด-เบส โดยใช้แอลกฮอร์และแอซีโตนเป็นสกัดจากเปลือกหน่อไม้ไผ่ตงอ่อน การทดลองตอนที่7 การเปรียบเทียบอายุการใช้งานของอินดิเคเตอร์ที่สกัดจากเปลือกหน่อไม้ไผ่ตงอ่อนในรูปของเหลวกับอินดิเคเตอร์ที่แปรรูปเป็นกระดาษ การทดลองตอนที่ 8 การหาช่วง pH ของการเปลี่ยนรกระดาษอินดิเคเตอร์จากเปลือกหน่อไม้ไผ่ตงอ่อนอินดิเคเตอร์ที่เก็บในรูปของเหลว และกระดาษลิตมัส