โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นกันยุงสมุนไพร

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันยุงเป็นพาหะนำโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ เช่นโรคไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง โดยเฉพาะยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ซึ่งกำลังระบาดหนักในช่วงนี้ ในทุกๆบ้าน จึงหาวิธีป้องกันโดยวิธีต่างๆ เช่น ใช้ยากันยุงแบบต่างๆ โดยเฉพาะแผ่นสารเคมี (แผ่นอาทเมท) เป็นต้น กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาและเห็นว่า ผู้ที่ใช้แผ่นดังกล่าว จะเกิดการสะสมและรับปริมาณสารเคมีซึ่งมีส่วนผสมของสาร ดีดีที และอาจจะเกิดการสะสมของสารเคมี ทำให้การระคายเคืองระบบหายใจ เพราะสารพวกนี้ไม่มีกลิ่นฉุน จึงทำให้ผู้สูดดมไม่มีอาการในทันทีทันใดแต่จะสะสมเป็นทวีคูณ แผ่นหนึ่งก็ตั้ง3บาท ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้นำแผ่นของสารเคมีมาทดลองเปรียบเทียบกับแผ่นสมุนไพรในสูตรต่างๆ เช่น ใบและต้นตะไคร้หอม เปลือกส้มโอ เปลือกส้มเขียวหวาน ใบกระเพราดำ และผลที่ดีที่สุดคือ ใบตะไคร้หอม ข้อดีของแผ่นสมุนไพรคือ สามารถไล่ยุงได้ดี ราคาย่อมเยา แผ่นหนึ่งก็ไม่ถึง1บาท อำนวยความความสะดวกได้เช่นกัน เพราะสามารถใช้กับเครื่องทำความร้อนได้ และเราก็สามารถผลิตขึ้นใช้เอง ใช้แล้วก็ถนอมสุขภาพ เวลาสูดดมก็ไม่เป็นอันตราย เพราะมีกลิ่นฉุน ที่เกิดจากธรรมชาติไม่ได้สังเคระห์สารเพิ่ม ผลเสียคือ เก็บและใช้ได้ในเวลาที่น้อยกว่าสารเคมี และมีวิธีการทำแผ่นสมุนไพรคือ นำใบตะไคร้ห้อม ไปตากแดดจัดๆครึ่งวัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด มาผสมกับกาวแป้งเปียก การบูร ในอัตราส่วน 10 : 10 : 5 กรัม ตามลำดับแล้วนำไปอัดเป็นแผ่น ไปตากแดดพอหมาด ก็สามารถใช้แทนสารเคมีได้ สามารถไล่ยุงได้ดีกว่าแผ่นสารเคมี (แผ่นอาทเมท) เพราะยุงได้กลิ่นฉุนจากสมุนไพร แต่กลิ่นฉุนนี้ ไม่มีผลต่อคนเรา แต่กลับให้กลิ่นหอมสดชื่นจากการบูร และมีข้อดีหลายๆด้าน มากกว่าแผ่นสารเคมี ทำให้กลุ่มข้าพเจ้าคิดว่าจะนำไปเผยแพร่กับคนในชุมชนได้ใช้กัน และผลดีที่จะตามมาหลายๆด้านทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และไม่เพิ่มมลพิษต่อสภาพแวดล้อม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นงเยาว์ อินหมู

  • ศศิวิมล ลุยทอง

  • อนุพงษ์ มาลัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชัยมงคลพิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคเหนือตอนล่าง

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ยุง

  • สมุนไพร

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์