คำไทยแท้
คำไทยแท้ เป็นคำที่มีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียว เป็นคำโดด ๆ ฟังเข้าใจง่าย ๆ มักสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด ไม่มีตัวการันต์ ไม่เป็นคำควบกล้ำ
คำไทยแท้จะมีวรรณยุกต์หรือไม่มีวรรณยุกต์ก็ได้ ซึ่งคำและความหมายจะแตกต่างกันไปตามวรรณยุกต์ที่ใช้
เป็นคำที่สามารถนำมาสร้างเป็นคำใหม่ได้ โดยการนำคำไทยแท้สองคำมาประสม ทำให้เกิดเป็นคำใหม่มีความหมายใหม่ก็ได้เช่นกัน
คำไทยแท้ที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีตั้งแต่เด็ก ๆ ที่ประสมด้วยสระไอไม้ม้วนทั้ง 20 คำ ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ให้สะใภ้ไว้คล้องคอฯ ก็จัดว่าเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
นอกจากนั้น คำไทยแท้คำเดียวกันสามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น คำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ เป็นต้น
คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว แต่ก็อาจมีหลายพยางค์ได้เช่นกัน ซึ่งเกิดจากการกร่อนเสียง การแทรกเสียง หรือการเติมพยางค์หน้าคำมูล
หลักการสังเกตคำไทยแท้
มีพยางค์เดียว เรียกว่า คำโดด เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา สูง ต่ำ ดำ ขาว
คำไทยแท้ จะไม่มีตัวการันต์
คำไทยแท้ส่วนมากจะมีตัวสะกดตรงตามมาตราในภาษาไทย
ยกเว้นบางคำที่ประสมด้วยสระอำ จะเป็นภาษาเขมร เช่น ทราบ กราบ เกิด
หรือคำที่อ่านออกเสียงสระอะในตัวอักษรตัวสุดท้ายบางคำจะเป็นภาษาบาลี สันสกฤต เช่น เอก อ่าน เอก-กะ นาม อ่าน นาม-มะ คำเหล่านี้จะไม่เป็นคำไทยแท้
มีวรรณยุกต์หรือไม่มีวรรณยุกต์ก็ได้ ความหมายจะแตกต่างกันตามวรรณยุกต์ที่ใช้
คำไทยแท้นำมาสร้างเป็นคำใหม่ได้ โดยนำคำไทยแท้ 2 คำมาประสมกัน หรือเป็นซ้อน คำซ้ำ เช่น คัดเลือก
คำที่ประสมด้วยสระไอไม้ม้วน 20 คำ (20 ม้วน จำจงดี)
คำไทยแท้ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น คำว่า “ดี”
เป็นคำกริยา ตัวอย่างเช่น พี่ดีต่อน้อง
เป็นคำนาม ตัวอย่าง เช่น ดีมีรสขม
เป็นคำวิเศษณ์ ตัวอย่างเช่น คนดีจะมีความสุข
ไม่นิยมเป็นคำควบกล้ำ แต่ยกเว้นคำที่ควบกล้ำด้วย กร กล กว คร คล ปร ปล พร พล
มักมีพยางค์เดียว แต่อาจมีหลายพยางค์ได้เช่นกัน ดังนี้
กรณีเกิดจากการกร่อนเสียง เช่น หมากพร้าว เป็น มะพร้าว ,หมากม่วง เป็น มะม่วง
เกิดจากการแทรกเสียง เช่น เดี๋ยว เป็น ประเดี๋ยว ,ลูกดุม เป็น ลูกกระดุม ทำ เป็น กระทำ
ไม่ใช้ “รร” เช่น คำว่า อัศจรรย์ มหรรณพ บรรทัด