คำซ้ำ
คำซ้ำ คือ การที่นำคำมูลมาใช้ซ้ำกัน โดยใช้ไม้ยมก “ๆ” เติมหลังคำเดิม และออกเสียงซ้ำคำเดิมที่อยู่ข้างหน้าค่ะ คำซ้ำจะอยู่ในรูปของชนิดของคำหลายประเภท เช่น คำนาม สรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำซ้ำบางคำ เมื่อเติมไม้ยมก จะมีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม
ตัวอย่างเช่น นายดำดำน้ำเก่ง ห้ามเขียนว่า นายดำ ๆ น้ำเก่ง เนื่องจาก นายดำเป็นคำนาม ส่วน ดำน้ำเป็นคำกริยา จะใช้ไม้ยมกไม่ได้
ประเภทของคำซ้ำ
1. คำซ้ำที่บอกจำนวนที่มีความหมายเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เด็ก ๆ รีบไปโรงเรียน
น้อง ๆ ชอบกินขนม
เพื่อน ๆ ช่วยกันเก็บขยะ
แม่ครัวหั่นหมูเป็นชิ้น ๆ
นางแบบมีเสื้อผ้าเป็นตู้ ๆ
2. คำซ้ำ ที่ซ้ำแล้วทำให้ความหมายเปลี่ยนไป
ตัวอย่างเช่น
ของกล้วย ๆ หรือของหมู ๆ หมายความว่า ง่าย
งู ๆ ปลา ๆ หมายความว่า เล็กน้อย
ทำลวก ๆ หมายความว่า รีบทำโดยไม่ตั้งใจทำ - งานนี้ทำเสร็จสด ๆ ร้อน ๆ หมายความว่า เพิ่งทำเสร็จ
3. คำซ้ำที่ซ้ำแล้วบอกถึงความต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น
ฝนตกพรำ ๆ / ฝนตกปรอย ๆ/ฝนตกหยิม ๆ
งูแลบลิ้นแผล็บ ๆ
ยายเคี้ยวหมากหยับ ๆ
เด็กผู้หญิงร้องกรี๊ด ๆ
ฝนตกหนักดังซู่ ๆ
เสียงกลองดังรัว ๆ
คำซ้ำตามชนิดของคำ
1. คำซ้ำเป็นคำนาม หรือสรรพนาม
ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ลูก ๆ น้อง ๆ พี่ ๆ เพื่อน ๆ ป้าๆ สาว ๆ หนุ่ม ๆ หมา ๆ เรา ๆ
2. คำซ้ำเป็นคำกริยา
ตัวอย่างเช่น
มอง ๆ แล้วหัวเราะ
พูด ๆ แล้วหยุด
เขาเอาแต่นั่ง ๆ นอน ๆ
นักกีฬาวิ่ง ๆแล้วหกล้ม
เด็กคลาน ๆ อยู่บนพื้น
3. คำซ้ำเป็นคำวิเศษณ์
ตัวอย่างเช่น
มะม่วงลูกใหญ่ ๆ
เด็กผู้ชายตัวสูง ๆ
หมาตัวเล็ก ๆ ดำ ๆ
กระต่ายมีสีขาว ๆ - เด็กชายแดงพูดจ๋อย ๆ ทั้งวัน
ผู้หญิงผิวขาว ๆ ดูสวยงาม
นักเรียนเดินเร็ว ๆ หน่อย
4. คำซ้ำเป็นคำบุพบท
ตัวอย่างเช่น
เขายืนริม ๆ ตลิ่ง
ฉันนั่งข้าง ๆ บ้าน
แม่เดินอยู่ใกล้ ๆ สวนสาธารณะ
หญิงลีร้องเพลงแถว ๆ ตลาด
ข้อควรระวังในการใช้คำซ้ำ
ไม่ใช้คำซ้ำในคำที่ทำหน้าที่ต่างชนิดกัน
ตัวอย่างเช่น
นายดำดำน้ำเก่งมาก
คนคนนี้เป็นนักสืบ