Pesticide Residue สุ่มอย่างไรให้ชัวร์
- ผู้เขียน
ศิริลออ พงค์เกื้อ
- เอกสารที่มา
กสิกร 89, 4 (ก.ค.-ส.ค. 2559) 43-50
- หัวข้อ:
ผัก--การปลอมปน--การตรวจสอบ.
บทคัดย่อ
การทดสอบหาปริมาณสารพิษตกค้างในตัวอย่างผัก ผลไม้สดนั้น ขั้นตอนการสุ่มตัวอย่างถือเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการทดสอบ หากขั้นตอนการสุ่มตัวอย่างเริ่มต้น มีการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับหลักวิชาการ อาจส่งผลให้ผลการทดสอบที่ได้ไม่สามารถนำมาใช้ในการประมวลผลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการสุ่มตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ทดสอบสารพิษตกค้าง เช่น CAC/GL33-1999, Commission Directive (EC) No. 63/2002 หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกษ. 9025-2551 เรื่องวิธีชักตัวอย่างเพื่อตรวจหาสารพิษตกค้าง เมื่อได้ตัวอย่างจากกระบวนการสุ่มที่ดีตามมาตรฐานแล้ว ขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญโดยต้องกำหนดส่วนที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ ส่วนของเนื้อ เปลือก เมล็ด และส่วนที่รับประทานได้ ในกรณีที่ไม่สามารถทดสอบหาปริมาณสารพิษตกค้างในตัวอย่างผักและผลไม้สดได้ในวันที่เตรียมตัวอย่าง ให้นำตัวอย่างที่ได้จากการเตรียมบรรลุลงในกล่องพลาสติกที่ปิดสนิทนำไปเก็บรักษาในตู้แช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิ 0 ถึง 18 องศาเซลเซียส และควรทำการทดสอบภายใน 14 วัน หลังจากเตรียมตัวอย่างเพียงเท่านี้ก็ทำให้ผลการทดสอบถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น