ช้างเท้าหน้า-ช้างเท้าหลัง

ช้างเท้าหน้า และ ช้างเท้าหลัง เป็นสำนวนที่มาจากลักษณะการเดิน ของช้างที่เยื้องย่างอย่างสง่างาม แม้จะเป็นสัตว์ใหญ่น้ำหนักมาก แต่เวลา ย่างเท้าเดินจะไม่มีเสียงดังตึงตังหรือสะเทือนเลื่อนลั่น แม้ในเวลาช้างวิ่งก็จะ ไม่เกิดเสียงดังตึงตังแต่อย่างใด

คนโบราณเอาภาพการเดินของช้างมาใช้เปรียบเทียบกับการดำเนินชีวิต ของสามีภรรยาที่ต้องไปด้วยกันเหมือนเท้าหน้าและเท้าหลังของช้าง เปรียบ สามีเป็นช้างเท้าหน้า เมื่อเท้าหน้าเดินไปทางใด ก็ให้ภรรยาซึ่งเปรียบเป็น ช้างเท้าหลังเดินตามไปทางนั้น เช่น เขาเป็นช้างเท้าหน้าของครอบครัว ต้องทำตัวเป็นผู้นำที่ประพฤติตนดี ขยันหมั่นเพียร ใจคอหนักแน่นมั่นคง ส่วนเธอเป็นช้างเท้าหลังต้องรู้จักประหยัดอดออมและให้เกียรติสามี

(นางสาวนิภาพรรณ ธาราสันติสุข)