เผาศพ

เมื่อนำศพไปถึงวัดแล้ว ก็เอาไปตั้งไว้บนศาลาหรือที่สำหรับตั้งศพ ก่อน เพื่อมีเทศน์ มีสวดและบังสุกุล เสร็จแล้วจึงยกขึ้นสู่ที่เผา ก่อนจะเผา ต้องนำไปในที่กำบังแล้วเปิดฝาโลงออก และยกศพออกจากโลงวางบนผ้าขาว เอามีดตัดเชือกตราสังและผ้าที่ห่อศพออก ให้ศพนั้นนอนหงาย เอาผ้าขาว ที่รองนั้นพันปิดศพให้เรียบร้อย เอากิ่งไม้มาวางบนศพพอรองผ้าบังสุกุล แล้วเอาผ้าบังสุกุลพาดลงบนกิ่งไม้นั้นอีกทีหนึ่ง นิมนต์พระสงฆ์มาชักมหาบัง สุกุล เมื่อเสร็จแล้วจึงยกศพใส่ลงในโลงและให้ศพนั้นคว่ำหน้าลง ทั้งนี้ก็เพื่อ ไม่ให้ศพงอตัวขึ้นมาในเวลาถูกไฟ ถ้าเผาในท่านอนหงายศพมักงอตัวเชิดขึ้น ได้ โลงนั้นต้องตัดก้นโลงให้เป็นช่อง สำหรับไฟจะได้ลอดขึ้นไหม้ศพได้ แล้ว นำโลงศพเวียนเชิงตะกอนจากซ้ายไปขวาสามรอบ ในเวลาที่เวียนศพนี้ ผู้ที่ เป็นลูกหลานและภรรยาหรือบริวารของผู้ตายทั้งหมดต้องเดินตามศพเพื่อเป็น การแสดงความเคารพ เมื่อเวียนครบสามรอบแล้ว จึงนำโลงศพขึ้นตั้งเชิง ตะกอน และผู้เป็นเจ้าภาพต้องนำเบี้ยทิ้งที่เชิงตะกอน ให้ตากลียายกลาเป็น จำนวน ๓๓ เบี้ย เดี๋ยวนี้หาเบี้ยไม่ได้ก็ต้องใช้สตางค์แทนเบี้ย จำนวนสตางค์ ที่ทิ้งนั้นต้องเป็นจำนวนดี ต่อจากนี้จึงต่อยมะพร้าวให้แตกเอาน้ำล้างหน้าศพ เสร็จแล้วจึงจุดไฟเผา เชื้อเพลิงของใครก็ต้องจุดไฟเอาเอง ห้ามต่อกัน เมื่อ ไฟไหม้ศพขึ้นแล้ว เอาผ้าขาวที่คลุมโลงนั้นโยนข้ามไฟ โยนข้ามไปข้ามมา ให้ครบสามครั้งจึงหยุด ก่อนที่ผู้เผาศพจะกลับบ้าน ต้องซักไฟออกเสียสาม หนก่อนแล้วจึงกลับได้ เมื่อกลับมาถึงบ้านต้องล้างหน้าและอาบน้ำด้วย

อธิบายปัญหาธรรม การที่เอามีดตัดเชือกหรือด้ายที่ผูกศพออกนั้น ได้แก่ดวงปัญญา ด้ายนั้นได้แก่ โลภ โกรธ หลง ต้องตัดด้วยดวงปัญญาจึง จะขาดได้

การที่เอากึ่งไม้วางเหนือศพนั้น เพื่อจะไม่ให้ผ้าที่ทอดบังสุกุลเปื้อน ศพที่มีน้ำเหลือง

การที่นิมนต์พระมาทำมหาบังสุกุลนั้น ก็เพื่อให้ท่านมาปลงกรรมฐาน และรับผ้านั้นเป็นไทยทาน จัดเป็นการกุศลส่วนหนึ่ง

การเวียนเชิงตะกอนสามรอบนั้น หมายความว่า เมื่อแรกเกิดมานั้น เป็นเด็ก และถึงคราวเป็นหนุ่มสาวแล้วก็แปรผันไปอีกจนถึงชรา อันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

การทิ้งเบี้ยลงที่เชิงตะกอนนั้น เป็นการซื้อที่ให้ผู้ตายอยู่ มีเรื่องเล่า กันมาว่า เจ้าภาพงานศพไม่ได้ซื้อที่ให้ผีอยู่ในเวลาเผา เมื่อเผาแล้วผีไม่มีที่ อยู่ ก็เที่ยวรบกวนหลอกหลอนต่าง ๆ ภายหลังเจ้าภาพได้ซื้อที่ให้ผีแล้ว จึงไม่เที่ยวหลอกหลอนต่อไปอีก

การที่เอาน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพนั้น เป็นปัญหาธรรมว่าสิ่งสะอาดย่อม ล้างสิ่งโสโครก คือกุศลธรรมย่อมล้างอกุศลธรรมฉะนี้

การห้ามไม่ให้ต่อไฟกันนั้น ท่านอธิบายว่าไฟนั้นเป็นของร้อนถ้าต่อ กันก็ติดเนือง ๆ สืบกันไปเหมือนคนผูกเวร เวรย่อมไม่สิ้นสุดลงได้ การที่ท่าน ไม่ให้ต่อ ก็คือชี้ทางแห่งการระงับเวร

การเอาผ้าโยนข้ามไฟสามครั้ง แสดงถึงการข้ามของร้อนมี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นมูล ต้องข้ามด้วยธรรมอันเป็นไปในทางบริสุทธิ์ คือพระ อริยมรรค อริยผล และพระนิพพาน เมื่อโยนผ้าข้ามไปครบ ๓ หนแล้วก็ โยนเผาไฟเสียหรือให้ทานไป หรือถวายวัดเป็นผ้าเช็ดเท้าพระสงฆ์

การชักไฟสามคุ้นนั้น คือแสดงว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นของร้อน เปรียบเหมือนไฟ ๓ คุ้นนั้น เมื่อตัด ราคะ โทสะ โมหะเสียได้แล้ว ก็จะ ต้องได้รับความสุข คือปราศจากเครื่องร้อนทั้งปวง อนึ่ง การชักไฟคุ้นถือ เป็นสัญญาณให้ผู้ไปเผากลับได้

ที่ว่ามาถึงบ้านให้อาบน้ำนั้น เป็นการรักษาอนามัยอย่างดี ถ้ายกขึ้น สู่ปัญหาธรรมก็คือให้ล้างความชั่วด้วยความดีนั่นเอง