การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

"...อนึ่ง ข้าพเจ้าขอเตือนว่า แม้ท่านจะได้เรียนสำเร็จตามหลักสูตร จนได้ปริญญาแล้วก็ดี ขอให้เข้าใจว่า นี่เป็นเพียงขั้นต้นของการศึกษา เท่านั้น ท่านจงพยายามศึกษาและฝึกฝนตนเองต่อไป เพราะสรรพ วิทยาการด้านสาขาวิทยาศาสตร์ทั้งหลายนั้น การทดลองค้นคว้าช่วยให้ ได้ความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอ ถ้าท่านไม่ศึกษาเพิ่มเติมไว้ ต่อไป ไม่ช้าท่านก็จะล้าสมัย.." (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๙ กรกฎาคม ๒๔๙๖)


...ขอให้ทุกคนจงรำลึกถึงอุดมคติของวิชาชีพที่มุ่งหวัง จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด และรักษามรรยาทของการ ประกอบอาชีพโดยเคร่งครัด จงหมั่นฝึกฝนตนเองให้ทันสมัยในวิทยาการ ประกอบโรคศิลปะอยู่เสมอ.."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ : ๑ เมษายน ๒๔๙๘)


"...ภาษาเป็นสมบัติของชาติที่ควรรักษาและส่งเสริม ภาษานั้น เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับหาความรู้ ซึ่งหมายถึงความก้าวหน้าของคน อุปกรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ประเพณี ประเพณีนั้นหมายถึง แบบแผนหรือขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อกันมา การสิ่งใดที่ริเริ่มแล้ว ได้รับความนิยมถือปฏิบัติตามกันต่อไป จัดว่าเป็นประเพี คนเรา จะดำเนินชีวิตก็ต้องมีแบบแผนเป็นหลัก เราจึงต้องมีประเพณี เป็นแนวปฏิบัติ..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๒๑ เมษายน ๒๕๐๓)


"...ท่านทั้งหลายคงจะตระหนักอยู่แล้วว่า การศึกษาเล่าเรียน เป็นเรืองที่ไม่มีสิ้นสุด ผู้ปรารถนาความเจริญในการประกอบกิจการงาน จะต้องหมั่นเอาใจใส่แสวงหาความรู้ให้เพิ่มพูนอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะ กลายเป็นผู้ที่ล้าสมัยสมรรถภาพไป..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔)


...สมัยนี้เป็นสมัยพัฒนาประเทศเรากำลังร่วมกันดำเนินโครงการ พัฒนาต่างๆ อย่างเร่งรีบ และได้รับผลดีจากโครงการเหล่านั้นแล้ว อย่างน่าพอใจ หลายประการ ความเจริญของประเทศนั้น หมายถึง ความเจริญของประชาชนเป็นส่วนรวม สม่ำเสมอทั้งประเทศ..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๐)


...ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ในบ้านเมือง ของเรา ทำให้เกิดความรู้สึกว่าประเทศไทยและคนไทยกำลัง เสื่อมลง กำลังจะถูกกลีนหายไปกับอิทธิพลแห่งความเสื่อมในโลกปัจจุบัน ความรู้สึกเช่นนี้ไม่ตรงกับความจริงนัก เพราะคนไทยเรามีความเป็น ตัวของตัวเอง มีสมบัติทั้งทางวัตถุและจิตใจอย่างอุดมสมบูรณ์มาแต่เดิม เป็นการยากที่จะถูกกลืนหรือถูกทำลายอย่างที่คิดกัน..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ๕ สิงหาคม ๒๕๑๔)


"....ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า... จึงควรจะได้ศึกษาถึงภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงมาให้เข้าใจ แล้วพยายามค้นคิดหาเครื่องมือและวิธีการที่จะนำไปปฏิบัติได้ง่าย ๆ มาปฏิบัติโดยนำเอาพลังงานและสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศและในตัว มาใช้การให้ได้มากและกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงหากงานจะดู ไม่ใหญ่ยิ่งและไม่ก้าวหน้าเต็มที่ หรือการผลิตจะลดน้อยลงบ้างก็ตาม แต่ผลผลิตที่ได้มาก็ยังเพียงพอแก่การอุปโภคบริโภคและความต้องการ ที่สำคัญกว่านั้นคนส่วนใหญ่ก็จะมีงานทำทั่วถึงยิ่งขึ้น และสามารถ หารายได้เลี้ยงตัวเองให้มีความผาสุกความสะดวกสบายขึ้น ซึ่งเป็น ความมุ่งประสงค์ของสาธุชนทั่วไป..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า : ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘)


"...มรดกนี้ คำที่ถูกต้อง คือเป็น "บารมี" ได้สร้างบารมีตั้งแต่ โบราณกาลมา สะสมมาเรื่อย ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เมืองไทยถึงยังอยู่ได้ แต่ว่าถ้าเราไม่ทำต่อ บารมีก็สลายไป...บารมีนั่นคือทำความดี...เราอย่า ไปเบิกบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ ตั้งแต่บรรพบุรุษ ของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศชาติ มีอนาคต ที่แน่นอน อนาคตที่จะสามารถถือว่าชั่วลูกชั่วหลานชั่วเหลนชั่วโหลน ประเทศไทยก็ยังคงอยู่.…"

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๑๘)


"...การสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทุกด้านทุกระดับต้องใช้ เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อความรวดเร็วและถูกต้องมั่นคง บัณฑิต ที่เรียนสำเร็จออกไป จึงนับว่าจะได้เป็นกำลังและเป็นหลักในงานพัฒนา ประเทศและชุมชนในทุกๆ วงการ การใช้เทคโนโลยีนั้นย่อมกระทำได้ หลายแง่หลายมุม แง่หนึ่งที่ควรเพ่งเล็งเป็นพิเศษ ก็คือใช้ให้เกิด ประโยชน์ในด้านประหยัด เพราะการประหยัดเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ อย่างยิ่งในที่ทุกแห่งและในกาลทุกเมื่อ เท่าที่ปรากฏแล้ว เทคโนโลยี ช่วยให้ประหยัดได้อย่างดีเลิศ ในการสร้างเครื่องมืออิเลคโตรนิคส์ แต่ก่อนเครื่องมืออิเลคโตรนิคส์ทำได้ยากยิ่งและมีราคาสูงมาก คนส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากเครื่องมือดังกล่าว แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีช่วยให้สร้างและผลิตได้โดยง่ายและสะดวกด้วยราคาต่ำ อย่างเครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์ เวลานี้ใช้กันได้อย่างแพร่หลาย ทำให้ คนทั่วไปได้รับประโยชน์ในด้านข่าวสาร และการบันเทิงโดยทั่วถึง ในด้านอื่นๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม แม้จะเป็นเพียงงานระดับ ชาวบ้านเทคโนโลยีก็อาจช่วยได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น การทำ ยางพารา ถ้าทำตามแบบพื้นบ้าน ซึ่งทำกันตามมีตามเกิด ขาดความ ระมัดระวังในความสะอาดเรียบร้อยก็มักได้ยางแผ่นที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้ ขายไม่ได้เต็มราคา แต่ถ้านำเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ มาใช้ ให้มีการใช้ กรรมวิธีที่ถูกต้องและแน่นอนสม่ำเสมอ ก็จะได้ยางแผ่นที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ขายได้เต็มราคา การใช้ความระมัดระวัง และกรรมวิธีที่ ละเอียดแน่นอนเพียงเล็กน้อย โดยมิทำให้ต้องสิ้นเปลืองเกินกว่าปกติ แล้วได้ผลประโยชน์เพิ่มสูงขึ้นเช่นนี้ นับว่าเป็นการประหยัดด้วยอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชาวสวนยางมาก ในการที่ท่านทั้งหลายจะออกไป ทำหน้าที่ต่างๆ ทางด้านเทคนิคต่อไป ขอให้คำนึงถึงผลได้ที่เกิดขึ้นจาก การประหยัดนี้ให้มาก..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า : ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๑)


"....วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไป มีความ เปลี่ยนแปลงมาตลอดเนื่องมาจากความวิปริตผันแปรของวิถีทางแห่ง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลก ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยง ให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับประคองตัวเรามากขึ้น โดยเฉพาะ เรื่องการอยู่โดยประหยัด เพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้ โดยสวัสดี..."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ : ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๑)


"...เทคโนโลยีนั้นโดยหลักการคือการทำให้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดเป็นสิ่ง ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ดี ที่สมบูรณ์แบบ จึงควรจะ สร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความ เสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด แม้แต่สิ่งที่เป็นของเสีย เป็นของที่เหลือทิ้งแล้ว ก็ควรจะได้ใช้เทคโนโลยีแปรสภาพให้เป็นของใช้ได้ ... โดยทางตรงข้าม เทคโนโลยีใดที่ใช้การได้ไม่คุ้มค่าก่อให้เกิดความสูญเปล่า และความ เสียหายได้มาก จัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่บกพร่อง ไม่สมควรนำมาใช้ว่า ในกรณีใด ท่านทั้งหลายจะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อพัฒนาสภาพบ้านเมืองและฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนต่อไป ควรหัดเป็นคนช่างคิดช่างสังเกตในการปฏิบัติงานของตนเอง นอกจาก เทคโนโลยีที่ใหญ่โตระดับสูงสำหรับใช้ในงานใหญ่ๆ ที่ต้องการผล มากๆ แล้ว แต่ละคนควรจะคำนึ่งถึงและค้นคิดเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ ควบคู่กันไป เพื่อช่วยให้กิจการที่ใช้ทุนรอนน้อยมีโอกาสนำมาใช้ได้โดย สะดวกและได้ผลด้วย ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะออกไปมีหน้าที่การงานช่วย บ้านเมืองและประชาชนนี้ จึงใคร่จะขอให้ตั้งใจให้แน่วแน่ที่จะนำเอาวิชา ความสามารถของตัวไปใช้ด้วยความสุจริตบริสุทธิ์ใจ และด้วยความฉลาด รอบคอบให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทุกอย่าง โดยถูกต้องเหมาะสม ไม่ว่าจะกระทำร่วมกับผู้อื่น หรือกระทำโดยลำพังตนเอง บ้านเมืองเรา จักได้อยู่รอดและวัฒนาสภาพตลอดไป.."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า : ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๒)


"...จะเห็นว่าถ้าราษฎรอยู่ดีกินดี มีรายได้ รัฐบาลก็เก็บภาษีได้ สะดวก ไม่มีการหนีภาษี เพราะเมื่อมีรายได้ดีขึ้น เขาก็สามารถเสียภาษี ได้มากขึ้น..."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔)


"...ถ้าเรามาใช้ของไทย ซื้อของไทย เที่ยวเมืองไทย กินข้าวไทย อันนี้จะได้ประโยชน์. แต่ว่าก็ยังไม่แก้ปัญหา. ปัญหามีอยู่ว่าผู้ที่ทำกลองนี้ เขามีบริษัทที่นำเข้าสินค้าที่เขาขาย. เขาบอกว่าแย่ เขานำเข้าสินค้ามา และขายในราคาเดิม เพราะมีการตกลงราคาขายอยู่แล้ว. เมื่อของเข้ามา ก็จะต้องเสียเงินแพง. เขาบอกว่าขาดทุน. แต่เขามีความคิดอยู่เขาสามารถ ที่จะผลิตกลองนี้ และส่งนอก ส่งไปที่อเมริกาส่วนหนึ่ง ส่งไปที่ยุโรป ส่วนหนึ่ง....การสั่งของจากต่างประเทศ ก็มีความจำเป็นบ้างในบางกรณี. แต่ว่าสามารถที่จะส่งออกนอก ซึ่งผลิตผลที่ทำในเมืองไทยก็จะดีกว่า...."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)


"...โดยเฉพาะ ในภาคอีสาน เขาบอกว่า ต้องปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อจะขาย. อันนี้ถูกต้อง ข้าวหอมมะลิขายได้ดี แต่เมื่อขายแล้ว จะบริโภคเองต้องซื้อ ต้องซื้อจากใคร. ทุกคนก็ ปลูกข้าวหอมมะลิ. ในภาคอีสานส่วนมากเขาชอบบริโภคข้าวเหนียว ซึ่งใครจะเป็น คนปลูก ข้าวเหนียว เพราะประกาศโฆษณาว่า คนที่ปลูกข้าวเหนียวเป็นคนโง่. อันนี้ เป็นสิ่งสำคัญ. เลยได้สนับสนุน บอกว่า ให้เขาปลูกข้าว บริโภค เขาจะชอบ ข้าวเหนียว ก็ปลูกข้าวเหนียว. เขาจะชอบปลูกข้าวอะไรก็ตามให้เขาปลูก ข้าวอย่างนั้น และเก็บไว้ เพื่อที่จะบริโภคตลอดปี ถ้ามีที่ ที่จะทำนาปรัง หรือมีที่มากพอ สำหรับปลูกข้าว ก็ปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อที่จะขาย..."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)


"...เมือตังโรงสี ปลูกข้าวเองบ้าง และไปซื้อข้าวจากเกษตรกรบ้าง นำมาสี และขายในราคาที่เหมาะสม เป็นในรูปสหกรณ์. ที่ทำที่สวนจิตรฯ นี้ไม่ได้ใช้ข้าวที่ปลูกในสวนจิตรฯ เพราะว่าข้าวที่ปลูกในสวนจิตรฯ เอาไป เข้าพิธีแรกนาขวัญ. ข้าวที่โรงสีนี้ เป็นข้าวที่ไปซื้อจากเกษตรกรโดยตรง โดยให้ราคาที่เหมาะสม. เกษตรกรก็มีความสุข เพราะขายข้าวในราคาที่ เหมาะสม และผู้บริโภคก็ซื้อได้ในราคาถูก เพราะว่าไม่ต้องมีการขนส่ง มากเกินไป. ไม่ต้องมีคนกลางมากเกินไป ตกลงทั้งผู้ผลิต ทั้งผู้บริโภค ก็มีความสุข...."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)


"....เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถพ้นวิกฤตการณ์ได้ดีกว่าหลาย ประเทศ เพราะแผ่นดินนี้ ยังเหมาะสมกับความเป็นอยู่ได้ อย่างที่เคยพูด มาหลายปีแล้วว่า ภูมิประเทศยังให้ คือเหมาะสม. แต่ความเป็นอยู่ต้อง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องอยู่อย่างประหยัด และต้องไปในทางที่ถูกต้อง. วันนี้ พูดถึงวิธีแก้ไขสถานการณ์ปัจจุบัน วิกฤตการณ์ปัจจุบันทางหนึ่ง วิธีหนึ่ง. สมัยนี้เป็นสมัยที่พูดกันได้ว่า "โลกาภิวัตน์" ก็จะต้องทำตามประเทศอื่น ด้วย เพราะว่า ถ้าไม่ทำตามประเทศอื่น ตามคำสัญญาที่มีไว้ เขาอาจจะ ไม่พอใจ. ก็เพราะว่าเขาเองมีวิกฤตการณ์เหมือนกัน. การที่ประเทศใกล้ เมืองไทยในภูมิภาคนี้มีวิกฤตการณ์ด้วย ก็ทำให้เราฟื้นจากวิกฤตการณ์นี้ ยากขึ้น และไม่ใช่เฉพาะประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ แม้แต่ประเทศที่ดู ยังเจริญรุ่งเรืองดี ก็รู้สึกว่าจะกำลังเดือดร้อนขึ้น....ฉะนั้นเราต้องพยายาม อุ้มชูประชาชนให้ได้มีงานทำ มีรายได้ ก็จะสามารถผ่านวิกฤตการณ์. แต่ถ้าทำแบบที่เคยมีนโยบายมา คือ ผลิตสิ่งของทางอุตสาหกรรมมาก เกินไป ก็จะไม่สำเร็จ โดยที่ในเมืองไทยตลาดมีน้อยลง เพราะคนมีเงิน น้อยลง…"

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)


...Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง) บางคนแปลจากภาษาฝรั่งว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง. คำว่ายืนบนขา ตัวเองนี่ มีคนบางคนพูดว่าชอบกล. ใครจะมายืนบนขา. คนอื่นมายืน บนขาเรา เราก็โกรธ แต่ตัวเอง ยืนบนขาตัวเองก็ต้องเสียหลักหกล้มหรือ ล้มลง. อันนี้ก็เป็นความคิดที่อาจจะเฟื่องไปหน่อย. แต่ว่า เป็นตามที่เขา เรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง). หมายความว่าสองขา ของเรานี่ ยืนบนพื้น ให้อยู่ได้ไม่หกล้ม. ไม่ต้องไปขอยืมขาของคนอื่น มาใช้สำหรับยืน...…"

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)


"...ถ้าเศรษฐกิจสม่ำเสมอดี มีแต่ดีขึ้นได้. จึงต้องรักษาความ เป็นอยู่ที่ดี สถานการณ์ที่ดีต่อไป โดยรักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่สม่ำเสมอ. ไม่มีปัญหาว่าประเทศชาติจะรอดพ้นจากวิกฤตการณ์. ทั้งนี้เพราะ วิกฤตการณ์นี้มาจากความฟุ้งเฟ้อ หรือความโลภ ไม่อยากจะพูดว่า ความทุจริต เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องมีความทุจริตก็แย่ได้เหมือนกัน. ยิ่งมีทุจริตก็ยิ่งแย่ เพราะว่าถ้ามีทุจริต ไม่มีใครทำงานอะไรได้ ไม่มี ใครเชื่อใคร แล้วผู้ที่จะพยายามทำงานก็ไม่สามารถทำงาน เพราะ กลัวทุจริต. ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าไม่มีความสม่ำเสมอ ผู้ที่เป็นนักธุรกิจ หรืออุตสาหกรที่สุจริต ก็จะไม่สามารถกะงบประมาณ งบของตัวเอง จึงต้องค้ากำไรเกินควร เพื่อไม่ให้ขาดทุน. แต่มีหลายคนที่พยายาม ทำงานด้วยความไม่ฟุ้งเฟ้อ...."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)


"...ถ้าเข้าใจกันได้แล้ว คนในเมืองไทย ๖๐ เท่าไหร่ ๖๒ ล้าน ถึงป่านนี้ก็กว่าแล้ว ก็สามารถที่จะปรองดองกัน สร้างความมั่นคงใน ในประเทศ คนอื่นก็ชั่งมันล่ะ ชาวต่างประเทศ ชาวบ้านต่างประเทศ เขาก็เข้าๆ ออกๆ เข้าๆ ออกๆ ทุกนาทีก็เข้ามา แต่ว่าส่วนรวมของคนที่ ถือว่าเป็นคนเจ้าของประเทศ อย่าให้ขัดแย้งกัน แล้วก็ยอมรับว่าถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง ก็มีความสุข.."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔)


"...แล้วอย่างนี้ที่บอกว่ามาถวายพระพร สำหรับส่วนตัวนี้เรา เราก็ เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวว่า อยากมีความสุข ไม่ใช่ไม่อยากมี อยากมีความสุข แต่ใครมาทะเลาะกันต่อหน้า คนนี้ไม่ดี คนนี้ไม่ดี แล้วข้าพเจ้าดี ท่านจึง จะไม่ดี ก็อย่างนี้ไม่มีความสุข คนที่บอกว่าท่านไม่ดี คนนั้นก็ไม่มีความสุข คนที่ถูกว่าท่านไม่ดี คนนั้นก็ไม่มีความสุข อยากยอมรับข้าพเจ้ามีดี และ ข้าพเจ้ามีไม่ดี ท่านมีดี ท่านมีไม่ดี แล้วก็พูดช่วยกันแก้ไขว่า ท่านไม่ดี ตรงไหน ช่วยกัน คิด คิดออกไหม อ้อ! ใช่ข้าพเจ้ามีไม่ดีตรงนี้ต้องแก้ไข ทุกคนก็สบาย ทุกคนก็มีความสุข ข้าพเจ้าเองก็มี ความสุข เป็นอย่างนั้น ที่มาให้พรก็ได้ผล แต่ได้ผลว่า พระเจ้าอยู่หัวมีความสุข ใช้คำพระเจ้าอยู่หัว มีความสุข ก็ไม่รู้ ดูท่าทางมันแปลก เพราะว่าเขาว่าพระเจ้าอยู่หัวมี ความสุขไม่ได้ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเขาว่า พระเจ้าแผ่นดินมีความสุข เสมอ เพราะว่าใครๆ บอกว่า มีความสุข มีความสุขเหมือนพระเจ้าแผ่นดิน Happy as a King ก็ไม่จริง แต่ว่าถ้าท่านทุกคน ทำว่า ท่านทำถูก ท่านก็รู้ว่าทำถูก ท่านทำผิดก็รู้ทำผิด อีกคนบอกอีกคนทำผิดทำถูก ก็รู้กันแล้ว The King จะ happy as a King ได้ อันนี้น่ะ ได้อย่างนั้น ก็เป็นอันว่าถ้าหากว่า ท่านทำอย่างนั้นได้ ท่านก็มีความสำเร็จ เกิดความสำเร็จในกิจการ ถือว่าวันนี้ก็เป็นกิจการอย่างหนึ่ง..."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔)


"..ก็ต้องสร้างเขื่อนให้เก็บน้ำดีขึ้น อย่างมากที่สุดก็คือ ๒ เมตรกว่าๆ ก็หวังว่าจะดี ได้น้ำเพิ่มเติม ๙ ล้านลูกบาศก์เมตร นับว่าไม่เลว ไม่มาก แต่ดีกว่าที่ไม่มีความจริงควรจะมีอย่างนี้ทั่วตลอด ให้สามารถที่จะเก็บน้ำ แล้วก็ป้องกันไม่ให้น้ำท่วมตอนหน้าฝน หรือมีพายุเข้า ไม่ให้น้ำแล้ง ให้มีน้ำใช้สำหรับการกสิกรรม หรือการบริโภค เดี๋ยวนี้ทั่วโลกบ่นว่า ขาดน้ำๆ ในระหว่างที่บ่นขาดน้ำๆ มีคนเขาตาย เพราะถูกน้ำท่วม ตายไปเกือบ๑๐ คนแล้ว ทำไม เพราะเขาไม่ได้ทำ ไม่ได้ทำโครงการ ระบายน้ำที่ถูกต้อง..."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖)


"...ต้องพัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ของประชาชน คือ อาชีพ ไม่ใช่ เพียงแต่ปลูกผัก ถั่ว ปลูกงาให้หลานเฝ้า แต่เป็นเรื่องของให้ความ อยู่ดี กินดี ความรู้ การศึกษา กล่าวว่า ต้องช่วยให้การศึกษาดีขึ้น เพราะว่าถ้าการศึกษาไม่ดี คนไม่สามารถที่จะทำงาน การศึกษาต้องได้ ทุกระดับ.."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖)