บทสวดมนต์ติโรกุฑฑสูตร

ติโรกุฑเฑสุ ติฏฐันติ สันธิสิงฆาฏะเกสุ จะ

ท๎วาระพาหาสุ ติฏฐันติ อาคันต๎วานะ สะกัง ฆะรัง,

ฝูงเปรตมาสู่เรือนของตน ยืนอยู่ภายนอกฝาเรือนบ้าง

ณ ทาง ๔ แพร่งและทาง ๓ แพร่งบ้าง ใกล้บานประตูบ้าง ;

ปะหุเต อันนะปานัมหิ ขัชชะโภชเช อุปฏฐิเต,

ครั้นเมื่อข้าวและนํ้า ของเคี้ยวและของบริโภคเป็นอันมากตั้งไว้แล้ว ;

นะ เตสัง โกจิ สะระติ,

ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ระลึกไม่ได้ ;

สัตตานัง กัมมะปัจจะยา,

เพราะกรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย ;

เอวัง ทะทันติ ญาตีนัง เย โหนติ อะนุกัมปะกา

สุจิง ปะณีตัง กาเลนะ กัปปิยัง ปานะโภชะนัง,

ชนเหล่าใดเป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำควรดื่ม

และโภชนะอันสะอาด ประณีต เป็นของควร (อุทิศ) เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า :-

อิทัง โว ญาตีนัง โหตุ,

ทานนี้ จงถึงแก่ญาติทั้งหลาย ;

สุขิตา โหนตุ ญาตะโย,

ขอญาติทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด ;

เต จะ ตัตถะ สะมาคันต๎วา ญาติเปตา สะมาคะตา,

และพวกญาติ ผู้ละโลกนี้ไปแล้วเหล่านั้น พร้อมกันมาประชุมในสถานที่ให้ทานนั้น ;

ปะหุเต อันนะปานัมปิ สักกัจจัง อะนุโมทะเร,

อนุโมทนาโดยเคารพในข้าวและน้ำเป็นอันมากว่า ;

จิรัง ชีวันตุ โน ญาตี เยสัง เหตุ ละภามะ เส,

เราทั้งหลาย ได้สมบัติเช่นนี้เพราะญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจงเป็นอยู่นานเถิด ;

อัมหากัญจะ กะตา ปูชา,

บูชาอันทายกทั้งหลายทำแล้วแก่เราทั้งหลาย ;

ทายะกา จะ อะนิปผะลา,

และทายกทั้งหลาย ก็หาไร้ผลไม่ ;

นะ หิ ตัตถะ กะสิ อัตถิ,

อันที่จริง ในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ;

โครักเขตถะ นะ วิชชะติ,

ไม่มีโครักขกรรม (ปศุสัตว์เลี้ยงโค) ;

วะณิชชา ตาทิสี นัตถิ,

ไม่มีการค้าขายเช่นนั้น ;

หิรัญเญนะ กะยากะยัง,

ไม่มีการแลกเปลี่ยนด้วยเงิน ;

อิโต ทินเนนะ ยาเปนติ เปตา กาละกะตา ตะหิง,

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเปรตวิสัยนั้นด้วยทานที่ญาติให้แล้วในโลกนี้ ;

อุณณะเต อุทะกัง วุฏฐัง,

น้ำฝนตกลงในที่ดอน ;

ยะถา นินนัง ปะวัตตะติ,

ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ;

เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ,

ทานที่ทายกให้แล้วแต่มนุษย์โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายฉันนั้น ;

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง,

ห้วงน้ำเต็มด้วยน้ำ ย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปียม ฉันใด ;

เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ,

ทานที่ทายกให้แล้วแต่มนุษย์โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายฉันนั้น ;

อะทาสิ เม อะกาสิ เม ญาติมิตตา สะขา จะ เม,

บุคคลมาระลึกถึงอุปการะอันท่านได้ทำแล้วแก่ตนในกาลก่อนว่า,

ผู้นี้ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของเรา ผู้นี้เป็นญาติเป็นมิตร เป็นเพื่อนของเรา ดังนี้ ;

นิยมสวดตั้งแต่นี้ไปจนจบ

เปตานัง ทักขิณัง ทัชชา ปุพเพ กะตะมะนุสสะรัง,

ก็ควรให้ทักษิณาทาน เพื่อผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ;

นะ หิ รุณณัง วา โสโก วา ยาวัญญา ปะริเทวะนา,

การร้องไห้ก็ดี การเศร้าโศกก็ดี หรือการร่ำไรรำพันอย่างอื่นก็ดีบุคคลไม่ควรทำทีเดียว ;

นะตัง เปตานะมัตถายะ,

เพราะว่าการร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายผู้ละโลกนี้ไปแล้ว ;

เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย,

ญาติทั้งหลายย่อมตั้งอยู่อย่างนั้น ;

อะยัญจะ โข ทักขิณา ทันนา,

ก็ทักษิณานุปทานนี้แล อันท่านให้แล้ว ;

สังฆัมหิ สุปะติฏฐิตา,

ประดิษฐานไว้ดีแล้วในสงฆ์ ;

ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปะกัปปะติ,

ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วนั้น ตลอดกาลนาน ตามฐานะ ;

โส ญาติธัมโม จะ อะยัง นิทัสสิโต,

ญาติธรรมนี้นั้น ท่านได้แสดงให้ปรากฏแล้ว ;

เปตานะ ปูชา จะ กะตา อุฬารา,

และการบูชาอันยิ่ง ท่านก็ได้ทำแล้ว แก่ญาติทั้งหลายผู้ละโลกนี้ไปแล้ว ;

พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง,

กำลังแห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าท่านได้เพิ่มให้แลัวด้วย ;

ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติ.

บุญไม่น้อย ท่านได้ขวนขวายแล้ว ดังนี้แล.